การประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าฟ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ปี 2560 ในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • เกษร แถวโนนงิ้ว THE OFFICE OF DPC7 KHON KAEN

คำสำคัญ:

การประเมินผล, โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เพื่อประเมินการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า เขตสุขภาพที่ 7 ปี 2560  ใน 4 ด้าน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และการสะท้อนกลับข้อมูล  ทำการศึกษาในเขตสุภาพที่ 7 โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ในระดับอำเภอสุ่มได้ 34 อำเภอ  ขั้นตอนที่ 2 ระดับตำบล สุ่มอย่างง่ายเลือก 1 ตำบลในหนึ่งอำเภอ ขั้นตอนที่ 3 ระดับหมู่บ้าน สุ่มเลือก 1 หมู่บ้านจากหนึ่งตำบลและขั้นตอนที่ 4 เลือกครัวเรือนๆละ 1 คน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1)  ผู้บริหาร 16 คน (2)  จนท.สาธารณสุข 72  คน  (3) จนท.ปศุสัตว์ 38 คน (4) จนท.ท้องถิ่น 72 คน (5)  ประชาชน 510 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม และทบทวนเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

        ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปัจจัยนำเข้า พบ ความเพียงพอของงบ/ บุคลากร/ อาสาสมัครฯ/และวัสดุอุปกรณ์มีร้อยละ 6.3, 4.2, 6.3, 12.5 ตามลำดับ กระบวนการ พบปศุสัตว์มีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายฯ ร้อยละ 75  ผลผลิต  พบ อำเภอที่แสดงผลหัวสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 11 แห่ง (ปี 2559) เพิ่มเป็น 30 แห่ง (ปี 2560)   ประชาชนนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 48.8  ยุทธศาสตร์ที่ 2 พบว่า ในเขต 7มีศูนย์พักพิงสัตว์จำนวน 3 แห่ง ซึ่งทั้ง 3 แห่ง มีการให้บริการฉีดวัคซีน ทำหมันสุนัขแมว และมีสัตวแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมดูแล   ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปัจจัยนำเข้า  พบความเพียงพอของงบ บุคลากร วัคซีน ร้อยละ 42.7, 36.1, 58.3 ตามลำดับ กระบวนการ  พบ จนท.สาธารณสุขมีการบูรณาการทำงานร่วมกับเครือข่าย ร้อยละ 65.6   มีการบันทึกข้อมูลผู้สัมผัสโรคในโปรแกรม ร.36 ร้อยละ 50.0   ผลผลิต เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ค้นหาผู้สัมผัสโรคและติดตามให้มารับวัคซีนตามกำหนดร้อยละ 86.2  ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปัจจัยนำเข้า พบความเพียงพอของงบ / บุคลากร / สื่อสิ่งพิมพ์ร้อยละ 56.5, 18.5, 32.6  ตามลำดับ กระบวนการ  พบท้องถิ่นมีการบันทึกข้อมูลการขึ้นทะเบียนประชากรสุนัขและแมวในระบบ Thai Rabies Net ร้อยละ 27.8   ผลผลิต พบท้องถิ่นมีการสำรวจสุนัขและแมวและขึ้นทะเบียน ร้อยละ58.2 มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์  ร้อยละ 22.3 และสนับสนุนการซื้อวัคซีนร้อยละ 46.7  ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปัจจัยนำเข้า พบประชาสัมพันธ์เคยอบรมเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 25  ความเพียงพอของงบ /บุคลากร/สื่อ ร้อยละ 0, 100, 75.0 ตามลำดับ กระบวนการพบว่า ทุกจังหวัดมีการประสานงานและดำเนินงานได้  ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ผลผลิต พบทุกจังหวัดมีการจัดทำข่าวแจก spot ข่าว ตลอดจนมีการเผยแพร่ผ่านวิทยุชุมชนและทีวีในพื้นที่ทุกจังหวัด  ยุทธศาสตร์ที่ 6 พบยังไม่มีการบูรณาการฐานข้อมูลที่มีอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นฐานข้อมูลเดียวได้ อย่างไรก็ตามทุกหน่วยงานมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน การสะท้อนกลับข้อมูล ทีมวิจัยได้สรุปผลการประเมินและสะท้อนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อนำไปสู่การแก้ไขต่อไป 

        ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ควรจัดทำแผนในการจัดซื้อวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อสำรองวัคซีนให้ได้ร้อยละ 10-20 เพื่อแก้ปัญหาที่วัคซีนไม่เพียงพอ และกำหนดมาตรฐานกลางและข้อบังคับให้ทุกท้องถิ่นนำไปใช้เป็นหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน   นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรผลักดันให้ค่าตอบแทนให้กับอาสาสมัครปศุสัตว์ในพื้นที่ เนื่องจากมีภารกิจมาก ขาดแรงจูงใจในการดำเนินงานทำให้มีการเปลี่ยนคนบ่อย   

References

1. Centers for Disease Control and Prevention. Compendium of Animal Rabies Prevention and Control, 2008: National Association of State Public Health Veterinarians, Inc. (NASPHV). MMWR 18; 1-9. Retrieved 16 Feb 2018. Available from http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr5702a1.htm

2. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 2560 - ปี 2563. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 10 ก.พ. 2561]. แหล่งข้อมูล: สืบค้นจาก http://r36.ddc.moph.go.th/r36/content/view/6/127/

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า กรมปศุสัตว์. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 10 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: สืบค้นจาก http://www.thairbies.net

4. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรายงานโรคที่มีความสำคัญสูงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2555.

5. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซดน์, 2560.
6. Anbari, Frank T. A systems approach to project evaluation. Project Management Journal 1985; 16(3): 21–26.

7. Lumlertdacha B, Wacharaplusadee S, Den- duangboripant J, et al. Complex genetic structure of the rabies virus in Bangkok and its surrounding Provinces, Thailand: implications for canine rabies control. The Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene 2006; 100:276-81.

8. กิตติภณ คล้ายเจ๊ก, เสาวลักษณ์ ลักษมี, จรัลกุลวาชรัตน์ นันทเสน. การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มอก.วิชาการ 2549, 9 (18); 52-65

9. สํานักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. รายงานข้อมูลจาก สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข 2558; [สืบค้น 16 ม.ค.2561 ]. แหล่ง ข้อมูล: http://dpc6:ddc.moph.go.th/

10. อรพิรุฬห์ สการะเศรณี, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ธีระศักดิ์ ชักนำ, ธนวดี จันทร์เทียน, พรรณนาราย สมิตสุวรรณ, นิรันดร จอหอ, และคณะ. การสำรวจความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติจากการสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัด จันทบุรีปี2558. OSIR 2017; 10 (3), p.1-8

11. WHO expert committee on Rabies. National Program for the control of rabies in dogs. WHO Technical Report Series 1992; 824: 27-32.

12. อภิรมย์ พวงหัตถ์ และวิรงรอง หุ่นสุวรรณ. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าใน ประเทศไทย. J Med Assoc Thai; 2548. 88(9),1319-1322

13. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. สุนัขกัดคนปีละไม่ต่ำกว่าล้าน ครึ่งหนึ่งเมินฉีดวัคซีน. [อินเทอร์เน็ต]. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 2557; [สืบค้น 6 ต.ค.2561 ] แหล่ง ข้อมูล: http://cpho.moph.go.th/wp/?p=16942

14. Concannon, W. 1986. Canine physiology of reproduction. In: Burke, T.J (Ed.) Smail animal reproduction and fertility. Lea and Febiger, Phiadelphia, 23-87.

15. นริศร นางาม, ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช, พิทักษ์ น้อยเมล์, นพดล มีมาก. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำสุนัขและแมวมารับบริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในหมู่บ้านชนบทของจังหวัดขอนแก่น. วารสารสัตวแพทย์ 2543. 10 (3); 36-49

16. นุชนารถ เจริญสุข. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัข. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26