การประเมินความเสี่ยงสุขภาพของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงสุขภาพ, แรงงานนอกระบบบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพ ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษาคือ แรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป จำนวน 482 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ดำเนินการเก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2561 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามทางกายภาพ ในด้านแสงสว่างอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 76.2 ระดับความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามทางการเกิดอุบัติเหตุหรือสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ในด้านการใช้อุปกรณ์/เครื่องมือที่มีความแหลมหรือคมอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ร้อยละ 17.8 ระดับความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ ในด้านออกแรงยกวัสดุ/สิ่งของที่มีน้ำหนักมากอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ร้อยละ 20.1 และระดับความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามทางจิตวิทยาสังคม ในด้านความเครียดเนื่องจากกลัวทำงานผิดพลาดอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ร้อยละ 0.5 และพบว่า ระดับความรู้เรื่องความเสี่ยงจากการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 14.6 (S.D. = 2.1) ระดับพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.99 (S.D. = 0.17) และพบว่า ภาพรวมของความรู้เรื่องความเสี่ยงจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.117 , p-value = 0.088)
จากผลการศึกษาการประเมินความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ในครั้งนี้จึงควรนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน
References
2. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแรงงานนอกระบบ ปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ กลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559
3. สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภอหนองเรือ. รายงานประชากรประจำปี 2560 [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.amphoe.com/menu.php
4. อรุณณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
5. จตุพร เลิศฤทธิ์. การประเมินความเสี่ยงต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในคนงานโรงงานทอผ้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
6. สุวรรณดา สงธนู, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรแผนกซักฟอก. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2558;54:187-194.
7. สมัชญา หนูทอง. ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา;2556.
8. น้ำทิพย์ สีก่ำ. ความรู้และทัศนคติที่มีต่อการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของคนงานตัดเย็บโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา;2553.
9. ศิรศักดิ์ สุนทรไชย. การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสภาวะแวดล้อมของแรงงานคุ้ยขยะ และแรงงานที่เกี่ยวข้อง [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก https://resource.thai health.or.th/sites/default/files/documents/chbabsmbuurn1.pdf11.
10. ศิริพร วรรคสังข์, ลักษณีย์ บุญขาว. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานและการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย กรณีศึกษา ร้านรับซื้อของเก่าแห่งหนึ่ง ในตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2557.
11. สุรดา ลัดลอย, เทอดพงศ์ ศรีสุขพันธุ์, อัญชุลี การดี, บรรณาธิการ. การศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6; 28-29 เมษายน 2558; มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2558.
12. วิทิต กมลรัตน์. พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัทอดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฟอสเฟต ดีวิชั่น). [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2552.
13. วิชัย เหล่าเรืองโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ของพนักงานโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2555;63:366-376.
14. กชพรรณ หนูชนะ. ความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานครฯ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
15. ธวัชชัย คำป้อง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดหลังจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
16. รุ่งฤดี วงศ์ชุม. สุขภาพกับแรงงานสตรีที่รับงานมาทาที่บ้าน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2551;93:59-64.
17. วัชรากร เรียบร้อย. การบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561;12:11-20.
18. ดิษฐพล ใจซื่อ, เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. การดูแลตนเองของแรงงานเก็บขยะ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;105:37-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น