ความชุกและความรุนแรงของโรคจากการทำงานในเกษตรกรปลูกพืชไร่ จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
โรคจากการทำงาน, โรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อ้อยบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ข้อมูลการเจ็บป่วยจากการทำงานของเกษตรกรไทย ยังไม่มีการรายงานข้อมูลที่จำแนกตามชนิดของพืชที่เพาะปลูก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกและอัตราป่วยตายของโรคจากการทำงานของเกษตรกรปลูกพืชไร่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังโรคและศึกษาวิจัยเชิงลึกต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยใช้ฐานข้อมูลเกษตรกรทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกพืชไร่ของจังหวัดหนองบัวลำภู และฐานข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภูตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555-2559 มาใช้ทำการวิเคราะห์ความชุกของโรคและอัตราป่วยตายเพื่อบอกความรุนแรงของโรคจากการทำงาน
ผลการศึกษา: เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ที่ขึ้นทะเบียน ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 มีจำนวน 25,523 คน และจากข้อมูลการเข้ารับบริการสุขภาพพบความชุกของการเจ็บป่วยสูงสุด คือกลุ่มโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 21.73) รองลงมาคือ โรคเหตุทางกายภาพ (ร้อยละ 5.15) และโรคผิวหนังจากการทำงาน (ร้อยละ 1.51) ตามลำดับ โดยโรคที่พบมากที่สุด คือ การปวดหลังส่วนล่าง หมดสติเพราะความร้อน และเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ซึ่งพบมากในเกษตรกรไร่อ้อย ส่วนกลุ่มโรคที่มีอัตราป่วยตายสูงสุด คือ พิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 8.51) รองลงมาคือกลุ่มโรคติดเชื้อ (ร้อยละ 6.11) และโรคปอดและทางเดินหายใจ (ร้อยละ 2.83) ตามลำดับ
สรุป: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและกลุ่มโรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญในเกษตรกรปลูกพืชไร่โดยเฉพาะผู้ปลูกอ้อย ข้อมูลนี้จึงมีประโยชน์มากในการสร้าง
ความตระหนักด้านการป้องกันโดยมีมาตรการเชิงรุกด้านการประเมินความเสี่ยง และการจัดทำฐานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคทั้งสองกลุ่มระยะยาวในเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกนี้ต่อไป
References
2. นิภาพร ศรีวงศ์, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2556; 6(2): 14-22.
3. จีระนันท์ จะเกร็ง. ผลกระทบต่อสุขภาพทางกายจากการสัมผัสพลังงานความร้อนขณะทํางานในกลุ่มคน ทํานาเกลือจังหวัดสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.
4. Tangkanakul W, Smits HL, Jatanasen S, Ashford DA. Leptospirosis: an emerging health problem in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36(2): 281-8.
5. Panaphut T, Domrongkitchaiporn S, Thinkamrop B. Prognostic factors of death in leptospirosis: a prospective cohort study in Khon Kaen, Thailand. Int J Infect Dis. 2002; 6(1): 52-9.
6. ดาริกา วอทอง, เนสินี ไชยเอีย, วัชรา บุญสวัสดิ์. ลักษณะอาชีพและปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหืดของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกโรคหืดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(3): 223-30.
7. วไลพร พราหมณ์ชู, สีลม แจ่มอุลิตรัตน์, ศรายุทธ ลูเซียนกีเตอร์. เปรียบเทียบอาการและหน้าที่การทำงานของปอดในคนงานเผาถ่านและเกษตรกรสวนยาง. สงขลานครินทร์เชสาร 2553; 28(2): 61-7.
8. ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ, วรรณภา อิชิดะ, ทวีศักดิ์ ปัดเต. พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(2): 4-12.
9. นภมณ ยํารวง, พัชรพร สุคนธสรรพ์. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและภาวะสุขภาพของเกษตรกรชาวนา ในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลทหารบก 2559; 17(2): 163-74.
10. สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ปี 2553-2558. [ออนไลน์] 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=13577
11. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. สถิติการเจ็บป่วยของประชากรจังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2555-2559. [ออนไลน์] 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] เข้าถึงได้จาก http://nbdatacenter.moph.go.th/jdatacenter/ indexReport.php
12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการเจ็บป่วยจากสารเคมีภาคเกษตรกรรม. [ออนไลน์] 2556. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] เข้าถึงได้จาก http://nbdatacenter.moph.go.th/jdatacenter/indexReport.php
13. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. โครงการศึกษาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2557 [ออนไลน์] 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2938?show=full
14. Phajan T, Nilvarangkul K, Settheetham D, Laohasiriwong W. Work-related musculoskeletal disorders among sugarcane farmers in north-eastern Thailand. Asia Pac J Public Health 2014 May; 26(3): 320-7.
15. ยุพิน พันธ์ชมภู, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรปลูกแตงโม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(2): 73-7.
16. กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. ความร้อนกับการทำงาน. [ออนไลน์]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560] เข้าถึงได้จาก http://www.oshthai.org/dex.php?option=com_content&view=article
17. สุนิสา ชายเกลี้ยง, สายชล แปรงกระโทก. การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(3): 382-9.
18. Tangkanakul W, Smits HL, Jatanasen S, Ashford DA. Leptospirosis: an emerging health problem in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36(2): 281-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น