การประเมินความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2560

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ไทยวงษ์ The Office of Disease Prevention and Control 7 Khon Kaen
  • กังสดาล สุวรรณรงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
  • สุวัฒนา อ่อนประสงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการยอมรับในความสามารถต่อการดำเนินงานของแผนงานควบคุมโรคของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น และประเมินความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรคของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่นต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค โดยทำการศึกษาในเครือข่ายป้องกันควบคุมโรค ผู้ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 4 จังหวัด ตอบแบบประเมินการยอมรับบทบาทการดำเนินงานของแผนงานควบคุมโรคของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 94 คน และผู้ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ตอบแบบประเมินความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรคของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 120 คน  โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามของสำนักผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรคสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินการยอมรับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60 ความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 100 ผลต่าง (GAP) ระหว่างการยอมรับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกับความคาดหวัง มีค่าน้อยกว่าศูนย์ 20 แผนงานโรค ค่าผลต่างมาก 3 อันดับที่ต้องพัฒนา ได้แก่ แผนงานควบคุมโรคตับอักเสบจากไวรัส (GAP=-2.00) แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ (GAP=-1.87) และระบบงานระบาดวิทยา (GAP=-1.87) ผลการประเมินความเข้มแข็งของแผนงานควบคุมโรค ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แผนงานควบคุมโรคไข้เลือดออก (90.00 คะแนน) แผนงานควบคุมโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (89.50 คะแนน) และแผนงานควบคุมโรคมาลาเรีย (86.50 คะแนน) ส่วนคะแนนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แผนงานควบคุมโรคเรื้อน (21.00 คะแนน) แผนงานควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (21.00 คะแนน) และแผนงานควบคุมโรคตับอักเสบจากไวรัส (28.50 คะแนน)

References

1.ไพโรจน์ พรหมพันใจ,จิตรา บุญโพก,พจนา จิตรจำนงค์, ทิพยรัตน์ ธรรมกุล. การยอมรับและความคาดหวังของเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคต่อแผนงานควบคุมโรค กรมควบคุมโรค. สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค; 2560.

2.สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการประเมินความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 10 ด้าน (Revitalizing Disease Control Program : RDCP). นนทบุรี ; 2560.

3.สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ. รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมอิมพีเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

4.สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ. รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การกำหนดทิศทางและจัดทำ Road Map ในการพัฒนาความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค ปี 2558 – 2560 วันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมริชมอนด์ ถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี

5.สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ. รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาความเข้มแข็ง แผนงานควบคุมโรคระดับ สคร. ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2558 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี , รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค : การเชื่อมต่อ National Program กับ Regional Program ระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมริชมอนด์ ถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี.

6.สำนักนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ. รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค ปี 2559 (Revitalizing Disease Control Program : RDCP) ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมอยุธยาแกรนด์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา .

7.สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ. รายงานสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรคและข้อเสนอแนะการดำเนินงาน ปี 2560;2560.
8.ชูศรี วงศ์รัตนะ.เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 10 .นนทบุรี: บริษัทไทเนรมิตกิจดินเตอร์โปรแกรสชิพ จำกัด; 2550.

9. Bloom, B.S, Engelhart, M.D, Furst, E. J. Hill, W. H, Krathworld, D.R, & David M. Taxonomy of educational objectives: Handbook on I: Congnitive Domian. New York: David MCkay;1956.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03