ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้สื่อสังคมเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่นในโรงเรียนเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • ราณี วงศ์คงเดช Faculty of Medicine, Mahasarakham University
  • อดิศร วงศ์คงเดช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จำรัส หรรษาวงศ์ โรงเรียนบรบือวิทยาคม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ในการใช้สื่อสังคม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้สื่อสังคมเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ฯ และการดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเขตเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในอาสาสมัครที่ถูกสุ่มอย่างเป็นระบบจำนวน 364 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร และสนทนากลุ่มแกนนำนักเรียน ในเดือนสิงหาคม 2561 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาระดับความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s Chi-Square พบว่า ร้อยละ 54.1 เป็นเพศชาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มากที่สุด (ร้อยละ 38.7) เกรดเฉลี่ยรวม 3.59 (S.D.=0.42) เมื่อศึกษาความรอบรู้เพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ทั้ง 6 ด้านพบว่า 1) ด้านความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ 2) การเข้าถึงสื่อสังคมข้อมูลและบริการสุขภาพอยู่ในระดับมาก 3) มีการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในระดับปานกลาง   4) มีการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพ อยู่ในระดับมาก 5) มีความรอบรู้ในการใช้สื่อสังคมและสารสนเทศในระดับปานกลาง และ 6) มีการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องในระดับมาก เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ความรอบรู้ในการใช้สื่อสังคมและการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ควรสร้างความร่วมมือในการออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้สื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มวัย     

References

1. จินตนา ตันสุวรรณนนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ในการใช้สื่อสังคมกับพฤติกรรมบริโภคนิยมของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2558; 11(1): 100-101.

2. ประเวศ วะสี. ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยาก ของคนทั้งแผ่นดิน. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 2: นครปฐม; 2554.

3. กองสุขศึกษาร่วมกับสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในเด็กและเยาวชนไทยที่มีสภาวะน้ำหนักเกิน 2557. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤษภาคม 2560].เข้าถึงได้จาก : www.https://drive.google.com/file/d/0B2vawgANLTltS0dFVkE4MzVWWnc/view

4. Rootman, I. Health Literacy, What should we do about it?. Presentation the Faculty of Education at the University of Victoria. British Columbia; 2009.

5. มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. ทันสื่อ ICT โครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ. เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.inetfoundation.or.th/icthappy/index.php?act=media

6. Wongpiromsarn R. Key not summary. ‘The Important of Media Literacy for Health in the Society’; from the Media Literacy for Health Academic Development to Formal and non Formal Curriculum of Thailand; Bangkok Thai Health Promotion Foundation 2004: 5-8.(in Thai)

7. เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู, ณัฐ ธารพาณิช, กิจวัตร ทาเจริญ, สุขใจ ว่องไวศิริวัฒน์, นพพล วิทย์วรพงษ์. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปี พ.ศ. 2558. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1: กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2559.

8. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อโนชา หมึกทอง, ถนอมศรี อินทนนท์ . การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. เครือข่ายวิชาการและข้อมูลด้านสารเสพติดในภาคใต้. สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 1: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด: กรุงเทพฯ; 2551.

9. ราณี วงศ์คงเดช. พฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2560; 7(2): 26-36.

10. Bloom , Benjamin S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill; 1971.

11. Likert, Rensis. “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp.). New York: Wiley & Son; 1967.

12. Cronbach,L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951; 195116 (3): 297-334.

13. อารยา ทิพย์วงศ์, จารุณี นุ่มพูล. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2557; 28(2): 1-11.

14. Khajornjit Bunnag. Factors Affecting Media Literacy of Early Teenagers. International Journal of Humanities and Social Sciences 2012; 6(10): 90-95.

15. Keawmanee, S. Newspaper Literacy: A Case Study of Undergrade Student in Bangkok. Degree of Master of Arts, Graduate School Thammasat university, Bangkok; 2004.
16. DeBenedittis, P, Loughery, M, McCannon, B, & Goldsborough, S. Alcohol prevention children love to learn! Paper presented at the Alcohol Policy XII Conference, Alcohol & Crime. Research for Practice and Prevention, Washington, D.C.; 2000.

17. Kupersmidt, J.B, Barrett, T.M, Elmore, K.C, & Benson, J.W. Preliminary Findings from the Evaluation of the Elementary Media Literacy, Substance Abuse Prevention Project. Paper presented at the first Research Summit of the Alliance for a Media Literate America, St. Louis, MO; 2007.

18. Austin, E. W, Pinkleton, B. E, Hust, S. J. T, & Cohen, M. Evaluation of an American Legacy Foundation/Washington State Department of Health media literacy pilot study. Health Communication 2005; 18(1): 75.

19. Slater, M.D, Rouner, D, Murphy, K, Beauvais, F, Van Leuven, J, & Domenech-Rodriguez, M.M. Adolescent counter arguing of tv beer advertisements: Evidence for effectiveness of alcohol education and critical viewing discussions. Journal of Drug Education 1996; 26(2): 143-158.

20. Kupersmidt, J, Feagans, L, Eisen, M, & Hicks, R. The North Carolina Media Literacy Education Program: An evaluation. Poster presented at the annual meeting of the Society for Intervention Research, Washington, D.C.; 2005.

21. Nutbeam, D. Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into the 21st Century. Health Promotion International 2000; 15(3): 259-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03