ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้เลี้ยงดู
คำสำคัญ:
ภาวะน้ำหนักเกิน, เด็กก่อนวัยเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้เลี้ยงดู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2 แห่งในแขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 34 คน ระยะเวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ โดยประยุกต์ทฤษฎีระบบของนิวแมนในการคัดเลือกเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินเข้าโปรแกรมที่ประยุกต์จากกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองและระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องอาหารและภาวะน้ำหนักเกิน ทัศนคติต่อภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ได้แก่ พฤติกรรมการจัดอาหาร พฤติกรรมการจัดการออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) ยกเว้นพฤติกรรมการควบคุมอาหารก่อนการทดลองและระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบหลังการทดลองและระยะติดตามผล พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องอาหารและภาวะน้ำหนักเกิน ทัศนคติต่อภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ได้แก่ พฤติกรรมการจัดอาหาร และพฤติกรรมการควบคุมอาหารสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดโปรแกรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้เลี้ยงดูสามารถเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมบางส่วนได้ แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ยั่งยืน จึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืนและคงนาน
References
2. Bareu of Nutrition. Department of Health. Guidelines for the control and prevention of overweight students. 5th ed. Bangkok: Veterans Publishing; 2016.
3. Thai Health Promotion Foundation. Happy News: Concern childhood obesity increased 36%
[Internet].2018 [cited 2018 May 8]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/content/27496.
4. Bareu of Nutrition. Department of Health. Guidelines for screening and solving problem of obesity childhood in school, health services and clinics DPAC. Bangkok: Keawchowjom Publishing;2015
5. ปรียาภรณ์ มณีแดง. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. Journal of
Nursing and Health Care 2560; 35(4): 16-24.
6. Likert,R. The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son;1967.
7. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก.พิมพ์ครั้งที่1 .กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2559.
8. Maffeis, C. Aetiology of overweight and obesity in children and adolescents. European Journal of Pediatric 2000;159 (1):35-44.
9. Janssen, I. Systematic review of the health benefits of physical activity and fitness in school-aged children and youth. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity 2010; 7(40):1-16.
10. นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. ภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะอ้วน.วารสารประชากรศาสตร์ 2552; 18(2):69-87.
11. Singh,G k, Siahpush, M, & Kogan, M.D. Rising social inequalities in US childhood obesity.
Association of Education Psychologists Journal 2010; 20(1): 40-52.
12. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5
พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน;2559.
13. อนุกูล พลศิริ. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารสารวิจัยรามคำแหง 2551; 11(1): 49-56.
14. ปุลวิชช์ ทองแตง,จันทร์จิรา สีสว่าง. ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555;
18(3): 287-297.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น