การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเพื่อควบคุมการดื่มสุราของวัยรุ่น ในเขตชุมชนใกล้สถานศึกษาแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ภานรินทร์ ณัฏฐากรกุล Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • อดิศร วงศ์คงเดช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กฤษณ์ ขุนลึก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ, การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, วัยรุ่นในเขตชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในเขตชุมชนใกล้กับสถานศึกษาแห่งหนึ่ง โดยประยุกต์ใช้กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมครั้งนี้ มี 6 ขั้นตอน คือ   1) การเข้าหาชุมชน 2) การประเมินชุมชน 3) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) การใช้เวทีสมัชชาสุขภาพ 5) การนำนโยบายและแผนไปปฏิบัติ และ 6) การประเมินนโยบาย เกิดนโยบายควบคุมการดื่ม 9 ประเด็นนำไปขับเคลื่อนชุมชน กลุ่มตัวแทนวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดี และชุมชนมีทัศนคติต่อวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเพิ่มมากขึ้น

          โดยสรุปปัจจัยแห่งความสําเร็จครั้งนี้คือการใช้กระบวนการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน และตรงประเด็น มีการตระหนักและสำนึกร่วมในการรับผิดชอบต่อปัญหาพื้นที่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้กระบวนการในรูปแบบใหม่ที่เน้นความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจนในทุกขั้นตอน

References

เอกสารอ้างอิง
1. ทักษพล ธรรมรังสี. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทยปี 2556. นนทบุรี : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2556.

2. วิทยา บูรณศิริ. จากแผนยุทธศาสตร์ระดับโลกสู่การปฏิบัติระดับชาติและท้องถิ่น. การประชุมนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลก 13-15 ก.พ. 2555 (Global Alcohol Policy Conference : GAPC).กรุงเทพฯ : เมืองทองธานี; 2555.

3. เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู, ณัฐ ธารพานิช, กิจวัตร ทาเจริญ, สุขใจ ว่องไวศิริวัฒน์, นพพดล วิทย์วรพงศ์.เหล้า/ความจริง : รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปีพ.ศ. 2558. รายงานวิจัยสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ :ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะเศรษฐศาสตร์; 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.โครงการ “คนดี สุขภาพดี รายได้ดี”.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2555-2558 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2558.
(เอกสารอัดสำเนา).

5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2558.

6. สุรศักดิ์ ไชยสงค์, กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล,ทักษพล ธรรมรังสี.รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2554 . นนทบุรี : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2556.

7. ไชยา เวียงนนท์. โครงการกาฬสินธุ์เมืองต้นแบบแห่งสุขภาพก้าวสู่เมืองแห่งสุขภาวะ.กาฬสินธุ์ : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนบน; 2556.

8. ประเวศ วะสี. การปฏิวัติเงียบ:การปฏิรูประบบสุขภาพแหงชาติ. นนทบุรี: สำนักปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ; 2546.
9. Smith, William E. The AIC model: Concepts and practice. Washington, D.C.: ODII; 1991.

10. สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ, นารี รมย์นุกูล, ฐิติมา อุดมศรี, สมหญิง เหง้ามูล. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ. รายงานการวิจัยศูนย์วิจัยสนับสนุนชุมชนมหาวิทยาลัยสยาม สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.);2556.

11. จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า, วิรุณ ตั้งเจริญ, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, วิชัย วงษ์ใหญ่. การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 2556; 14 (2): 1-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03