รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ:
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, เกษตรกร, สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรเป็นเรื่องสำคัญเพราะส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภคโดยสามารถก่อให้เกิดการแพ้และการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงได้ จากการสืบค้นพบว่า มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร แต่ยังไม่มีการสังเคราะห์และรวบรวมรูปแบบดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ข้อมูลที่ได้จะเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผู้วิจัยทำการสืบค้นงานวิจัยจาก 7 ฐานข้อมูลร่วมกับการสืบค้นด้วยมือ ได้งานวิจัยทั้งสิ้น 31,680 เรื่อง หลังจากคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดคงเหลืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental Designs) ทั้งหมด โดยรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรประกอบไปด้วย การสอนตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model: HBM) 7 เรื่อง การอบรมแบบมีส่วนร่วม 4 เรื่อง และการอบรมตามโปรแกรมสุขศึกษาทั่วไปร่วมกับการฝึกปฏิบัติ 1 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ผ่านการอบรมมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้องมากขึ้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งสะท้อนว่าการอบรมด้วยวิธีการต่างๆที่กล่าวมา ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรให้ถูกต้องได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าการสอนตามแนวคิด HBM ถูกนำมาใช้บ่อยที่สุดเนื่องจากเน้นที่ตัวบุคคลที่เป็นส่วนสำคัญในการรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์และอุปสรรค ดังนั้นวิธีปฏิบัติและการนำไปใช้จึงมีความเฉพาะและคนส่วนใหญ่สามารถเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเองได้
References
ประเทศไทย ปี 2557. [ออนไลน์].2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/210
2. สุธาสินี ทองลิ่ม. ทางออก ทางตัน ระบบเกษตรกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาปฏิรูป
ประเทศไทย มูลนิธิสาธารณสุข; 25562.
3. กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลตัวชี้วัด “ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร” ปี
2560.2561 [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_60/
4. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์สถานการณ์
และต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปีพ.ศ. 2556. 2556; 44(44): 689-661.
5. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ปัญหาโรคและภัยสุขภาพจาก
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2559. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/404
6. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). พบอาหารปนเปื้อนสารพิษ 8 จังหวัด เดือน
ก.ย.2552-2553. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/
7. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สถานการณ์ปัญหาการใช้สารเคมีในการเกษตร ปี 2559.
[เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/9853
8. สุจิตรา ยอดจันทร์, จรรจา สันตยากร, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, ปกรณ์ ประจันบาน. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม
การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554;5(2) : 45-51.
9. น้ำเงิน จันทร์มณี. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชประสิทธิผลของการให้อาชีวสุขศึกษาที่มีผลต่อความรู้
ทางด้านความปลอดภัยของเกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดพะเยา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2560; 10(37): 35-45.
10. พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, พีรญา อึ้งอุดรภักดี. การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชของเกษตรผู้ปลูกหอมแดงในในตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;
25(4):593 – 603.
11. หทัยรัตน์ เมธนาวิน. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมป้องกันการ
สัมผัสตะกั่ว และระดับตะกั่วในเลือดของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559 ; 11(2):
76-84.
12. จุฬาพร คำรัตน์, สัมมนา มูลสาร. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตราย
จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2552;
11(1): 111-128.
13. สุนทรีย์ คำเพ็ง, อรธิรา บุญประดิษฐ์. ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วย
ความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2555;
22(3): 112-123.
14. ศรัณยา เพิ่มศิลป์. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุม
ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น.
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น(บศ.) 2554 ;11(4): 89-100.
15. Abbaszadeh, A, Borhani, F, & Asadi, N. Effects of health belief model-based video training about risk factors on
knowledge and attitude of myocardial infarction patients after discharge. Journal of Research in Medical Science 2011;
16(2): 195-199.
16. Rosenstock, I.M. The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs 1974; 2:354-
386.
17. สุนทรี ปลั่งกมล. การพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลหนองยาว
อ.พนมสารคาม. จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร 2558; 10 (2): 134-144.
18. พุทธมาศ ส่งคืน, จตุพร เหลืองอุบล, สุทธิ์ศักดิ์ แก้วแกมจันทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง
จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง ต.เพี้ยราม อ.เมือง จ.สุรินทร์. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
19. ศิริพร สมบูรณ์, ทัศนีย์ รวิวรกุล, สุรินธร กลัมพากร, วันเพ็ญ แก้วปาน. ผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับ
การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร อำเภอองครักษ์ จังหวัด
นครนายก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2552;24(1) : 62-77.
20. นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, สืบตระกูล ตันตลานุกุล. การมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันตนเองจาก
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุตรดิตถ์ 2560; 9(2): 18-27.
21. สมศรี ภูแพง. ผลของกระบวนการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกเห็ดกระด้างของ
เกษตรกร ตำบลโนนสะอาด อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต].
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
22. Joseph G, Thomas A, Jennifer W,Ralph B,Grisel,Maria C,Sara A. Causes Of Pesticide Safety Behavior Change in Latino Farmworker Families. American Journal of Health Behavior 2013; 37(4):449-457.
23. นพพร บัวทอง. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และพฤติกรรมการใช้สารเคมี ป้องกันและ
กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลบางขวัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต].
ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2557.
24. ปณวัตร สันประโคน, ปิยะธิดา นาคะเกษียร, ดวงใจ รัตนธัญญา. ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากการใช้ยาฆ่าแมลงของ
ชาวนาไทยในอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(4): 89-97.
25. นุชนาฏ ศรทะเดช, การต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์,สุดาวดี ยะสะกะ,ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร, พันธ์ทิพย์ หินหุมเพชร. ประสิทธิผลของ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(2): 108-118.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น