ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มวัยเรียน อายุ 12-14 ปี ตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิพัฒน์พงศ์ แปดด่านจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบุญมาก
  • นิจฉรา ทูลธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำหนักเกิน, กลุ่มวัยเรียน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มวัยเรียน อายุ 12-14 ปี ตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 50 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม การสร้างแรงจูงใจ โดยใช้บุคคลที่เป็นตัวแบบ ตัวแบบผ่านสื่อ วีดีทัศน์ การประกวดการลดน้ำหนัก การแข่งขันกีฬา ออกกำลังกาย  การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การกระตุ้นเตือนและติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

           ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถแห่งตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมในการลดภาวะน้ำหนักเกิน เพิ่มขึ้นมากกว่า ก่อนการทดลองและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว พบว่าภายหลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และพบว่า เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองมีน้ำหนักลดลง จำนวน 10 คน        

References

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็ก วัยเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง ส่งต่อ และแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุขและคลินิก DPAC. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2558.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร. ภาวะโภชนาการของเด็กไทย. ใน: รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ฉบับสุขภาพเด็ก พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; 2557.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558. นครราชสีมา; 2558.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบุญมาก. รายงานการสำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอหนองบุญมาก ประจำปี พ.ศ. 2558. นครราชสีมา; 2558.

ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ. 2557. นนทบุรี; 2557.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

Bandura A. Self- Efficacy: The exercise of control. New York: W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co; 1997.

House JS, Umberson D, Landis K R. Measures and Concepts of Social Support. In: Social Support and Health. Editor by Cohen S, Syme SI. Orlando: Academic Press; 1981.

สุดารัตน์ วาเรศ. ผลการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีต่อดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2548.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงเพื่อประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไทย พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2542.

ศิรดา เสนพริก. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ระดับประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. วารสารการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 5: 297-314.

จิดาภา อุปรี, นฤมล สินสุพรรณ, กุหลาบ ปุริสาร. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนประถมศึกษา เขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 2561; 8: 277-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31