การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ จังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์ THE OFFICE OF DPC7 KHON KAEN

คำสำคัญ:

การประเมิน ระบบเฝ้าระวัง โรคเมลิออยด์

บทคัดย่อ

การศึกษาการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นการศึกษา               แบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคของโรงพยาบาลในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาสารคาม  โรงพยาบาลโกสุมพิสัย และโรงพยาบาลกันทรวิชัย          วิธีดำเนินการวิจัย คือ กำหนดคำนิยามของโรคที่จะทำการประเมินระบบเฝ้าระวัง กำหนดแหล่งการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดรหัสโรคและรหัสกลุ่มโรคในการสืบค้นข้อมูล และดำเนินการศึกษาขั้นตอนการรายงานผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเฝ้าระวัง  ผลการศึกษาของการสืบค้นข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลเวชระเบียนจาก 23 รหัส ICD-10         จำนวน 2,920 พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ตามนิยาม จำนวน 44 เวชระเบียน คิดเป็นร้อยละ 1.5 พบผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ในเวชระเบียน 95 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยาม 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.0 ด้านความครบถ้วนของข้อมูล พบว่า ผู้ป่วยที่รายงานในระบบรายงาน 506 จำนวน 11 ราย มีความครบถ้วนของการรายงาน ร้อยละ 7.4        (95% CI = 2.1 – 18.2) ซึ่งอยู่ในระดับควรปรับปรุงและค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 36.4 (95% CI = 10.9 – 69.2) ซึ่งอยู่ในระดับควรปรับปรุง ด้านความเป็นตัวแทน พบว่า เพศและอายุ ข้อมูลในเวชระเบียนและรายงาน 506 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้านอาชีพ พบว่า ข้อมูลในเวชระเบียนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และข้อมูลในรายงาน 506 ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และข้อมูลวันเริ่มป่วยในเวชระเบียน พบว่า จำนวนผู้ป่วยส่วนใหญ่แต่ละเดือน    ของเวชระเบียนจะมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าข้อมูลในระบบรายงาน 506 เป็นจำนวนมาก ด้านความเป็นตัวแทน   ของพื้นที่เสี่ยงในระดับอำเภอในระบบรายงาน 506 และในเวชระเบียบ พบว่า พื้นที่เสี่ยงไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้านความทันเวลา พบว่า ข้อมูลในเวชระเบียนมีผู้ป่วยเข้าตามนิยามและมีการรายงานในระบบ          เฝ้าระวังโรค สำหรับในรายงาน 506 มีการรายงานทันเวลา (ช่วง 0 – 3 วัน) ร้อยละ 54.5 การรายงานล่าช้า          (ช่วง 4 – 7 วัน) ร้อยละ 9.1 และรายงานล่าช้าเกินกว่า 7 วัน ร้อยละ 36.4 ด้านคุณภาพของข้อมูล พบว่า ผู้ป่วย     ที่เข้าตามนิยามและมีการรายงานในระบบรายงาน 506 เมื่อตรวจสอบตัวแปรต่างๆ ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ พบว่า      มีความครบถ้วนของการบันทึกครบทุกตัวแปร ร้อยละ 100 มีความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลในรายงาน 506          ตัวแปรอายุ เพศ เชื้อชาติ มีความถูกต้อง ร้อยละ 100 รองลงมาคือ ตัวแปรผลการรักษา ประเภทผู้ป่วย และวันที่พบผู้ป่วยมีความถูกต้อง ร้อยละ 81.8

References

1. MELIOIDOSIS. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่10 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.pidst.net/A247.html
2. สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์โรคเมลิออยโดซิส สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th/วันที่ 2 ธ.ค. 2559.
3. สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความครบถ้วนของเวชระเบียนในการวินิจฉัยและการรายงานของโรคเมลิออยโดสิสของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ปี 2559 .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 8 (3): 39 – 44.
4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงยืน. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดซิสในโรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ปี 2554 – 2555; 2556.
5. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์.แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี. 2551.
6. พงศธร เหลือหลาย. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ปี 2556. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2557; 6: 37-45.
7. ณัฐกานต์ อุ่นไพร และคณะ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหดของโรงพยาบาล 46 แห่ง ในเครือข่ายบริการที่ 2 ในปี พ.ศ. 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2556; 44: 553-559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26