ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • witsarut wangthai 0943673444
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์

คำสำคัญ:

ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, การตรวจเลือดแบบทราบผลภายในวันเดียว, บริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีเชิงรุกในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ Case-control อัตราส่วนระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเท่ากับ 1:1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น จากการคำนวณขนาดตัวอย่างได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 184 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 และกลุ่มควบคุมเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ไม่เคยตรวจการติดเชื้อเอชไอวีมาก่อนในชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบผ่านการสแกนรหัสคิวอาร์ (QR code line) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95 (95% CI)

ผลการศึกษา พบว่า มีหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ อาชีพข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ (ORadj=6.54, 95% CI: 1.57-27.20) การเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ORadj=24.79, 95% CI: 4.28-143.30) การรับรู้ว่าการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว (ORadj= 22.78, 95% CI : 7.07-73.40) การได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ORadj=3.41, 95% CI : 1.00-11.62) การจัดบริการเชิงรุก (การจัดบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีนอกสถานที่) โดยกลุ่มแกนนำ MSM (ORadj = 8.84, 95% CI : 2.86-27.33)

                จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การมีความเสี่ยงหรือการรับรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจังหวัดขอนแก่น ไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักมากพอที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในสถานบริการ แต่การปรับบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการ เช่น การตรวจการติดเชื้อเอชไอวีแบบรู้ผลภายในวันเดียว การจัดบริการเชิงรุกตรวจการติดเชื้อเอชไอวีนอกสถานบริการ โดยการจัดกิจกรรมของกลุ่มแกนนำชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในแต่ละอำเภอ ที่ดึงดูดความสนใจ และเกิดการรวมตัวของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลับเป็นปัจจัยที่ทำให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายตัดสินใจเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า

References

United Nations Programe on HIV/AIDS [UNAIDS]. Global report: UNAIDS global aids update 2016. Geneva: UNAIDS; 2016.

สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังระบาดวิทยาโรคเอดส์ฯ กรมควบคุมโรค; 2560.

Integrated Biologic and Behavioral Surveillance and Sentinel surveillance [IBBS]. Thailand: Key facts on HIV 2016 [online]. 2016 [cited 2018, Jan 9]. Available from: https://

www.aidsdatahub.org/ Country-Profiles/Thailand

สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังระบาดวิทยาโรคเอดส์ฯ กรมควบคุมโรค; 2557.

จิรภัทร หลงกุล. การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

García MC, Duong QL, Mercer LE, Meyer SB, Ward PR. Never testing for HIV among men who have sex with men in Viet Nam: Results from an Internet-based cross-sectional survey. BMC Public Health 2013; 13: 1236.

จิรภัทร หลงกุล. การเข้ารับการรับบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

Lee SW, Deiss RG, Segura ER, Clark JL, Lake JE, Konda KA, et al. A cross-sectional study of low HIV testing frequency and high-risk behaviour among men who have sex with men and transgender women in Lima, Peru. BMC Public Health 2015; 15: 408.

Yi S, Tuot S, Chhoun P, Brody C, Pal K, Oum S. Factors associated with recent HIV testing among high-risk men who have sex with men: A cross-sectional study in Cambodia. BMC Public Health 2015; 15: 743.

Strömdahl S, Liljeros F, Thorson AE, Persson KI, Forsberg BC. HIV testing and prevention among foreign-born Men Who have Sex

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31