ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุวิตรา สร้างนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ดวงใจ วิชัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ ในตำบลนาเสียว  อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 1 กลุ่ม โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 30 คน เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้ การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการความเครียด เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้แก่  สถิติเชิงพรรณนาใช้วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้ Paired Sample t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความคาดหวังในผลและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p-value<0.001)

 

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

 

References

เอกสารอ้างอิง
1.กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ.สูงวัยในศตวรรษที่ 21 : เฉลิมฉลองและความท้าทาย
[ออนไลน์].2561[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561]. จาก www.unfpa.org
2.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย.[ออนไลน์].2561[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน
2561] จาก www.ipsr.mahidol.ac.th
3.วิภาพรรณ ประจวบเหมาะและศิริวรรณ ศิริบุญ. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553.มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ
ไทย; 2555.
4.มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย.[ออนไลน์].2561[เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561].จาก
www.fopdev.or.th/สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย.
5.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.แผนพัฒนาสาธารณสุขระดับจังหวัด.พ.ศ.2555-2559.[ออนไลน์].[เข้าถึงเมื่อวันที่
15 สิงหาคม 2561].จาก www.cpho.moph.go.th
6.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสียว.ข้อมูลประชากร(เอกสารอัดสำเนา).ชัยภูมิ;
2561.
7.Bandura,A.Self efficacy:The exercise of control. Free man company. New york; 1997
8.นิภาพรรณ อธิคมานนท์.ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบางปะหัน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
9.ปฐมธิดา บัวสม.ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
โรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอบางปะกง จังหวัดพังงา.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5(4).
10.ปรียาภรณ์ นิลนนท์.การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
อำเภอบางปลาคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารราชนครินทร์2560;14(32).
11.ศิริวรรณ ขัตติยวิทยากุล.ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัด
นครราชสีมา.วารสารกองการพยาบาล 2553;37(1).
12.ยุภาพร นาคกลิ้ง.ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งชาติ 2560;6 (1).
13.วรรัตน์ สุขคุ้ม.ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภค ขนาดของ
รอบเอว และค่าดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วน.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-13