การเฝ้าระวังโรคและพาหะโรคลิซมาเนียในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • Wasana Sornpeng Offiice of disease prevention and control 7 Khon Kaen

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : โรคลิซมาเนีย ริ้นฝอยทราย

บทคัดย่อ

โรคลิซมาเนีย เป็นโรคติดต่อที่มีริ้นฝอยทรายเป็นพาหะนำโรค มีรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศตะวันออกกลาง จึงได้มีการตรวจคัดกรองกลุ่มดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม โดย 1. ตรวจคัดกรองหาเชื้อลิซมาเนียในกลุ่มประชากรทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการโดยแบบสอบสวนเฉพาะรายและตรวจหาเชื้อโดยเทคนิค PCR 2. การศึกษาจำนวน ชนิดของพาหะ และการตรวจหาเชื้อในแมลงพาหะ โดยวิธี PCR-ITS1 ผลการสอบสวนโรค พบอาการแสดงของผู้ตรวจพบเชื้อลิซมาเนีย มีอาการเรียงตามลำดับจากมากที่สุด คือ น้ำหลักลด 4-9 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 20.69 รองลงมา คือ แผลเปื่อยเรื้อรัง และ ไข้ (เป็นๆ หายๆ) เรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 13.79 และอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจไม่สะดวก ผิวหนังคล้ำขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.34 ตามลำดับ ผลการตรวจหาเชื้อลิซมาเนียจากตัวอย่างเลือดและตัวอย่างน้ำลายของกลุ่มประชากรศึกษาในตัวอย่างเลือด 55 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อลิซมาเนีย จำนวน 11 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20 และในตัวอย่างน้ำลาย 55 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.81 จากการสำรวจจำนวน ชนิดริ้นฝอยทรายในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด พบริ้นฝอยทรายมากที่สุด คือ Sergentomyia hivernus, Sergentomyia barruadi, Sergentomyia spp. จำนวนชนิดละ 2 ตัว รองลงมา คือ Sergentomyia gemmea และ Sergentomyia indica จำนวนชนิดละ 1 ตัว นอกจากนี้ยังสำรวจพบริ้นน้ำเค็มอีกจำนวน 13 ตัว ส่วนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม พบริ้นฝอยทราย คือ Sergentomyia spp. จำนวน 5 ตัว รองลงมา คือ Sergentomyia gemmea และ Sergentomyia indica จำนวนชนิดละ 1 ตัว นอกจากนี้ยังสำรวจพบริ้นน้ำเค็มอีกจำนวน 10 ตัว เมื่อนำริ้นฝอยทรายและริ้นน้ำเค็มที่สำรวจตรวจหาเชื้อ โดยวิธี Leishmania-Conventional PCR ผลไม่พบเชื้อในทุกตัวอย่าง
จากข้อมูลจำเป็นอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังกลุ่มประชากรที่เดินทางไปทำงานยังพื้นที่พบรายงานการเกิดโรคลิซมาเนีย เนื่องจากข้อมูลการสำรวจแมลงพาหะยังพบริ้นฝอยทรายหลายชนิดในประเทศไทย ถึงแม้ว่าในช่วงที่ศึกษาตรวจไม่พบเชื้อลิซมาเนียในริ้นฝอยทรายก็ตาม

 

 

References

1. Apiwathnasorn C. Sucharit S, Rongsriyam K, et at. A brief survey of Phlebotomine sand files in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Pub Hlth. 1989 ; 20(30) : 429-32
2. Emami MM, Yazdi M. Entomological survey of phlebotomine sand flies (Diptera: Psychodidae) in a focus of visceral leishmaniasis in central Iran. J Vector Borne Dis. 2008 ; 45(1) : 38-43
3. กอบกาญจน กาญจโนภาศ. เอกสารประกอบการอบรม โครงการอบรมผู้ปฏิบัติงานกีฏวิทยาภาคสนาม ปี 2552. ณ ลำปำ รีสอร์ท จังหวัดพัทลุง ; หน้า 7-73.
4. ชํานาญ อภิวัฒนศร และยุทธนา ยุวดี. การเก็บตัวอย่างริ้นฝอยทรายในรูปแบบ “สไลดถาวร” นำเสนอ โครงการอบรมผูปฏิบัติงานกีฏวิทยาภาคสนาม ป 2547 ณ ลําปารีสอรท จังหวัดพัทลุง.
5. ชํานาญ อภิวัฒนศร สุวิช ธรรมปาโล และยุทธนา สามัง. ลักษณะทางอนุกรมวิธานของริ้นฝอยทราย ใน : ริ้นฝอยทรายและโรคลิซมาเนีย. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก : กรุงเทพมหานคร ; 2546: 111-123.
6. กชพรรณ สุกระ, กอบกาญจน กาญจโนภาศ, ดารารัตน เพชรจันทร, สกุลทิพย เอมสกุล, วิโรจน ฤทธาธร สุธีระ ขนอม และคณะการศึกษาความหนาแน่น และการติดเชื้อลิซมาเนียของริ้นฝอยทรายในพื้นที่อุบัติการณของโรค. 2552 ; 45 – 48.
7. สำนักระบาดวิทยา. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. ปีที่ 41 ฉบับที่ 3S : สิงหาคม 2553.
8. นฤมล โกมลมิศร์ และอุษาวดี ถาวระ : ใน ริ้นฝอยทราย. บรรณาธิการชีววิทยาและการควบคุมแมลงที่เป็นปัญหาสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร ; บริษัทดีไซดจํากัด 2547 ; 24 - 25.
9. ธีรยุทธ สุขมี. โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในประเทศไทย ; ลิซมาเนียซีส. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์. 41(3S) ; 2553 : S 49-61

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30