ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพื่อลดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พัชราวรรณ จันทร์เพชร 0870547830

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) เพื่อศึกษา    ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพื่อลดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test    ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคเบาหวาน มากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)   และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001 และp-value < 0.05) ตามลำดับ โดยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.110) มีค่าเฉลี่ยรอบเอวและระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001 และ p-value < 0.05) ตามลำดับ ซึ่งรูปแบบการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้

 

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2560. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก:https://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease_2560.
2. สำนักโรคไม่ติดต่อ. แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2560 – 2564. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก:https://plan.ddc.moph.go.th/meeting30_1augsep/meetting301 /Documents/AD.pdf.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2560. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก:https://203. 157.184.6/news_info/view.php?id= 3195.
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองไพร. รายงานผลการคัดกรองโรคเบาหวาน 2560. ฐานข้อมูล HOSxP; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเมืองไพร; 2560.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สมัชชาสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2558 มติที่ 4. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:https://kbphpp. nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/7461/20160129RoiEtCommunityHealth.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
6. กรฐณธัช ปัญญาใส, พิชามญชุ์ ภูเจริญ, ณิชกมล เปียอยู่. การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28(1): 51-62.
7. เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 8(1): 45-58.
8. ขนิษฐา พิษฉลาด และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559; 28(3): 132-146.
9. อนัน โกนสนเทียะ. ผลของโปรแกรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ต่อภาวะสุขภาพ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน โรคเบาหวาน ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557; 9(1): 1-8.
10. จันทร์ฉาย จารนัย, ผจงจิต ไกรถาวร, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวโดยรามาโมเดลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโภชนาการและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วารสารเกื้อการุณย์ 2559; 23(1): 41-59.
11. กนกวรรณ บริสุทธิ์ และคณะ. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28(1): 26-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-13