ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ - ไตรทิพย์สมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรู้, การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม, สตรีกลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรม             การป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ 30-70 ปี ตำบลสีมุม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 219 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ระดับความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยสถิติ Chi-square และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 47.51 ปี เคยคุมกำเนิด ร้อยละ 84.93 เคยได้รับการฝึกอบรมและเรียนรู้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 69.41 ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาเคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง             ร้อยละ 21.46 โดยตรวจเป็นประจำทุกเดือน ร้อยละ 17.02 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 40.19 มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 81.28 มีการรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.47 มีการรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.34 มีการรับรู้ต่ออุปสรรคในการป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 86.76 และมีพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 46.12

จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง พบว่า การได้เข้ามาฝึกอบรมและเรียนรู้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการป้องกันมะเร็งเต้านม การรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งเต้านม และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันมะเร็งเต้านม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Adjusted OR = 0.356, 3.151, 0.067 และ 5.032 ตามลำดับ) ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฝึกอบรมและเรียนรู้วิธีการคลำเต้านมในทิศทางต่างๆ ร่วมกับจัดกิจกรรมโดยเน้นให้สตรีกลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงความรุนแรงของมะเร็งเต้านม และประโยชน์ของการป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยการดูแลสุขภาพตนเองและการตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน

References

1. โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. แนวทางการดำเนินงานโครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hpc.go.th/bse/data/fightBeastCancerProject_20161201.pdf.
2. Voice TV. กระทรวงสาธารณสุข ชวนหญิงไทยเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านม หากพบก่อน รักษาก่อน โอกาสรอดก็ยิ่งมากขึ้น. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: 20112561-https_voicetv.co.th_read_HyH9q0Gjm.
3. Rimer BK, Schildkraut H, Hiatt RA. Cancerprinciples and practice of oncology. 6th ed. Philadelphia: Lippincott Williams 3. and Wilkins; 2001.
4. ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์. มะเร็งเต้านมป้องกันได้ไหม. ใกล้หมอ 2544; 25: 39-40.
5. มาลัย มุตตารักษ์ และคณะ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านม. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย; 2551.
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายข้อ 3. [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก:
http://bps.ops.moph.go.th/แนวทางขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข/นโยบายข้อ 3.doc.
7. จักรกฤษณ์ มงคลสวัสดิ์, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. ผลของโปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี
ความสามารถของตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครราชสีมา.
วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 7. 10(2): 141-50.
8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งกระโดน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขปี 2560 [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงพยาบาล; 2560.
9. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970; 30: 607-10.
10. Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: McGraw Hill Book Co; 1976.
11. Best JW. Research in education. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
12. สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, ปนัดดา ปริยทฤฆ, กนกพร หมู่พยัคฆ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557; 32(3): 42-51.
13. นาฏนฏา พงษ์สุวรรณ, ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของ
สตรีชาวเขา จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2560; 11(1): 28-37.
14. พัชยา ภัคจีรสกุล, เกสร สำเภาทอง, ลภัสรดา หนุ่มคำ, ดลสุข พงษ์นิกร, บรรณาธิการ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของหญิงไทยในจังหวัดลำปาง. เอกสารประกอบการการประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13 เรื่อง วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม; 20-21 กรกฎาคม 2560; ณ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: ม.ป.ป.; 2560. หน้า 693-701.
15. Dahlui M, Gan DE, Taib NA, Pritam R, Lim J. Predictors of breast cancer screening uptake: a pre intervention
community survey in Malaysia. Asian Pac J Cancer Prev 2012; 13(7): 3443-9.
16. Elobaid YE, Aw TC, Grivna M, Nagelkerke N. Breast cancer screening awareness, knowledge and practice
among Arab women in the United Arab Emirates: a cross-sectional survey. PLoS One 2014; 9(9): e105783.
17. Kashiwagi Y, Kakinohana S. Breast cancer knowledge and preventive behavior among Filipino women in a
rural area: A cross-sectional study. Nurs Midwifery Stud 2016; 5(3): e34300.
18. สุชาดา นนทะภา, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูในโรงเรียนประจำจังหวัดเขตภาคกลาง. วารสารเกื้อการุณย์ 2560; 24(2): 23-35.
19. สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, กุลชลี พิมพา, สุพัตรา พรสุขสว่าง. ประสิทธิผลของโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการตรวจเต้านมด้วยตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2554; 29(3): 64-73.
20. ดาริน โต๊กานิ, บุญยิ่ง ทองคุปต์ และประดังพร ทุมมาลา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่มารับบริการในคลินิกวัยทองของโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2552; 1(1): 12-25.
21. สรารัตน์ ตระกูลรัมย์, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 45-54 ปี ในเขตชุมชนบ้านห้วยจรเข้ ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2561; 24(2): 46-56.
22. มาสินี ไพบูลย์, คณิตา ชาดี, สุนัน เลขวรรณวิเศษ, สุมาลี พงศ์ผกาทิพย์, พจน์ชวิทย์ อภินิเวศ. การส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสตรีแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(1): 115-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26