ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อชิคุนกุนยาในหมู่บ้านที่มีการระบาดซ้ำ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2557 – 2558

ผู้แต่ง

  • Phatchani - Nakkhara The Office of Disease Prevention and Control 12 Songkhla

คำสำคัญ:

โรคชิคุนกุนยา, การระบาด, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มีการระบาดซ้ำของโรคชิคุนกุนยาในบางตำบลของอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส การสอบสวนโรคครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการกระจาย ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาในหมู่บ้านที่มีการระบาดซ้ำของโรคชิคุนกุนยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สำรวจสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชิคุนกุนยา (IgM) ด้วยวิธี Haemagglutination Inhibition test โดยความสมัครใจจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3, 4, และ 6 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 208 ราย ผลการศึกษาพบว่า
มีผู้ติดเชื้อ จำนวน 161 ราย (ร้อยละ 77.4) ในจำนวนนี้มีผู้ที่แสดงอาการ จำนวน 122 ราย (ร้อยละ 58.6) ส่วนใหญ่มีอาการปวดข้อ (ร้อยละ 99.2) รองลงมา ปวดศีรษะ (ร้อยละ 94.3) และ มีไข้ (ร้อยละ 88.7) ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ได้แก่ การไม่ป้องกันตนเองจากยุงกัดนอกบ้าน (ORadj =3.13, 95%CI = 1.27, 7.67) การมีขยะบริเวณบ้าน (ORadj =3.13, 95%CI = 1.26, 6.17) และการมีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาตอนต้น (ORadj =2.79, 95%CI = 1.01, 7.67) ดังนั้น หากมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้น ควรให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัดเมื่ออยู่นอกบ้านและกำจัดขยะบริเวณบ้าน

References

1. Lee VJ, Chow A, Zheng X, Carrasco LR, Cook AR, Lye DC, et al. Simple clinical and laboratory predictors of Chikungunya versus dengue infections in adults. PLOS Negl Trop Dis. 2012;6(9):e1786.
2. Thavara U, Tawatsin A, Chansang C, Kong-ngamsuk W, Paosriwong S, Boon-Long J, et al. Larval occurrence, oviposition behavior and biting activity of potential mosquito vectors of dengue on Samui Island, Thailand. Journal of vector ecology. 2001;26:172-80.
3. Pialoux G, Gaüzère B-A, Jauréguiberry S, Strobel M. Chikungunya, an epidemic arbovirosis. The Lancet infectious diseases. 2007;7(5):319-27.
4. รจนา วัฒนรังสรรค์, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, สุวิช ธรรมปาโล, สรรพงษ์ ฤทธิรักษา, สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ, สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และคนอื่นๆ. การศึกษาการระบาดของ โรคชิคุนกุนยา อำเภอเทพาและอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เดือนมีนาคม-เมษายน 2552. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 41(3); 36-40.
5. Ayood P, Leatvilairatapong T, Thumapalo S, Naratippaput J, Juntutanon S, Anuntaprecha S, et al. Risk factors and Chikungunya viral sero-survey in a village, Yi-gno District, Narathiwat Province, October 2008. Monday meeting; 2009 May 4; Bureau of Epidemiology, Nonthaburi; 2009.
6. Galatas B, Ly S, Duong V, Baisley K, Nguon K, Chan S, et al. Long-Lasting Immune Protection and Other Epidemiological Findings after Chikungunya Emergence in a Cambodian Rural Community, April 2012. PLOS Negl Trop Dis. 2016;10(1):e0004281.
7. Thavara U, Tawatsin A, Pengsakul T, Bhakdeenuan P, Chanama S, Anantapreecha S, et al. Outbreak of chikungunya fever in Thailand and virus detection in field population of vector mosquitoes, Aedes aegypti (L.) and Aedes albopictus Skuse (Diptera: Culicidae). Southeast Asian journal of tropical medicine and public health. 2009;40(5):951.
8. Sissoko D, Moendandze A, Malvy D, Giry C, Ezzedine K, Solet JL, et al. Seroprevalence and risk factors of chikungunya virus infection in Mayotte, Indian Ocean, 2005-2006: a population-based survey. PLoS One. 2008;3(8):e3066.
9. Raude J, Chinfatt K, Huang P, Betansedi CO, Katumba K, Vernazza N, et al. Public perceptions and behaviours related to the risk of infection with Aedes mosquito-borne diseases: a cross-sectional study in Southeastern France. BMJ open. 2012;2(6):e002094.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26