ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันวัณโรคของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดบึงกาฬ ปี พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ แสงเพชร Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ Sirindhorn college of Public Health Khon Kaen Province.

คำสำคัญ:

ผู้ต้องขัง, วัณโรค, บึงกาฬ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันวัณโรคของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดบึงกาฬ ประชากรศึกษาคือผู้ต้องขังในเรือนจำนวน 1,284 คน สุ่มขนาดตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนประชากรได้จำนวนตัวอย่าง     625 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  โดยการสุ่มอย่างง่าย  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31พฤษภาคม  2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์พหุถดถอยโลจิสติก

                   ผลการวิจัยพบว่า  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันวัณโรคของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดบึงกาฬ พบว่า กลุ่มผู้ต้องขังที่มีการรับรู้มาก จะมีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคดี เมื่อเทียบกับผู้ต้องขังที่มีการรับรู้น้อยถึงปานกลางเป็น 1.67  เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value<0.001 (Adjusted OR=1.67;95%CI of Adjusted OR:1.20to2.32;p-value<0.001)ผู้ต้องขังที่มีปัจจัยเอื้อปานกลาง จะมีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ต้องขังที่มีปัจจัยเอื้อน้อย เป็น 1.65  เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value<0.001 (Adjusted OR=1.65;95%CI of Adjusted OR:1.06 to 2.59;p-value<0.001)  และผู้ต้องขังที่มีปัจจัยเอื้อมาก จะมีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้ดี เมื่อเทียบกับผู้ต้องขังที่มีปัจจัยเอื้อน้อย เป็น 3.25  เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value<0.001 (Adjusted OR=3.25;95%CI of djusted OR: 2.04to5.17;p-value<0.001)

          ข้อเสนอแนะ ควรให้สุขศึกษาส่วนบุคคลในผู้ต้องขังที่มีปัจจัยเสี่ยงคือ การสูบบุหรี่ ผู้ที่เคยเสพสารเสพติดแต่เลิกแล้ว ผู้ต้องขังอายุที่ถูกคุมขังมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่า ผู้ต้องขังที่มีปัจจัยเหล่านี้ เสี่ยงต่อการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคไม่ดี เท่ากับผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังระยะเวลาน้อย และควรสนับสนุนให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อวัณโรค และการให้ผู้ต้องขังเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุขอย่างรวดเร็วและมีช่องทางเฉพาะ

References

1. World Health Organization[WHO]. Global Tuberculosis Control 2010 [online] 2016. [cited2016 Jun16]. Available form: http://www.who.int/tb/publications/global_report/
2. World Health Organization[WHO]. Global Tuberculosis Control 2009[online] 2009.[cited2016Jun16].Availableforme:www.who.int/tb/
publications/global_report/2009/pdf/chapter1.pdf
3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคแห่งชาติ.[ออนไลน์]. 2548. [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.
rpphosp.go.th/PDF/Km%20dpm/TB/Tb%20thai.pdf
4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active case fnding) ในการป้องกันควบคุมวัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส โรคเรื้อนมาลาเรียและโรคพยาธิใบไม้ตับ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. สรุปรายงานประจำปี 2558 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ[เอกสารอัดสำเนา]. บึงกาฬ: สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดบึงกาฬ; 2559.
6. ส�านักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.กรมควบคุมโรคเผยผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อที่ยังไม่ได้รับการรักษา สามารถแพร่เชื้อ. [ออนไลน์].2551 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จากhttp://thaigcd.ddc.moph.go.th/2016/knowledges/view/23
7. อุทุมพร ภักดีศิริวงษ์, อนงค์ หาญสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยการรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยงในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา 2555; 15 (ฉบับพิเศษ): 201-13.
8. ยุภาพร แก้วจันดา. พฤติกรรมที่มีผลต่อการติดเชื้อวัณโรคของกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคที่มารับบริการในโรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์.กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์;2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-17