ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิรวรรณ ไชยวงค์ Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

สูญเสียการได้ยิน, สมรรถภาพการได้ยิน, อาชีพ, พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) ศึกษาย้อนหลังแบบ Unmatched case-control study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกร โดยศึกษาในเกษตรกรเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 300 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา (Case) จำนวน 149 คน และกลุ่มควบคุม (Control) จำนวน 151 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และทดสอบสมรรถภาพการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA V.10.0 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95% และ p-value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 54.00 เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 46.00 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 57.75 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.54) มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 48.33 โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรเพาะปลูกข้าวหรือทำนาร้อยละ 97.67 มีอายุงานเพาะปลูกมากกว่าหรือเท่ากับ 21 ปี ขึ้นไปร้อยละ 70.67 สำหรับอาชีพเสริมหรืออาชีพรองนั้นส่วนใหญ่ไม่เคยทำงานที่สัมผัสเสียงดังร้อยละ 77.00 และในกลุ่มที่เคยทำงานอุตสาหกรรมนั้นส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้าง โดยในกลุ่มสูญเสียการได้ยินมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มไม่สูญเสียการได้ยินร้อยละ 23.49 และ 7.95 พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่พบสูงสุด 3 อันดับแรก คือ แคะหูด้วยสำลีพันก้านหรืออย่างอื่นเป็นประจำ ปั่นจักรยาน/เล่นสเก็ต/สเก็ตบอร์ด/ขี่มอเตอร์ไซค์โดยไม่ใส่หมวกกันน็อค และเป็นหวัดบ่อยและสั่งน้ำมูกแรง ๆ เป็นประจำ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ  (ORadj =11.68 ; 95%CI= 5.46-24.95)  รายได้ (ORadj =0.29 ; 95%CI= 0.45-0.60) โรคประจำตัว (ORadj = 4.43 ; 95%CI= 2.02-9.71)  การเคยทำงานสัมผัสเสียงดัง (ORadj =8.41 ; 95%CI= 3.34-21.14) และการแคะหูด้วยสำลีพันก้านหรืออย่างอื่นเป็นประจำ (ORadj = 2.45 ; 95%CI= 1.19-5.06)  ผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกสามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางเพื่อการตรวจคัดกรอง การป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพการได้ยินของกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรต่อไป

References

1. WorldHealthOrganization.WHOglobalestimates onprevalenceofhearingloss[online].[cited2012July 25]. Available from: http://www.who.int/pbd/deafness/WHO_GE_HL.pdf
2. Sam W, Anita A, Hayati K, Haslinda A, Lim C.Prevalence of hearing loss and hearingimpairment among small and medium enterprise
workersinSelangor,Malaysia.SainsMalaysiana,2017;46(2):267–74.
3. Kim K, Kwon OJ, Prevalence & risk factors of hearing loss using the Korean workingconditions survey. Korean J Audiol 2012;16(2):54–64.
4. โรงพยาบาลราชวิถี. โรงพยาบาลราชวิถี รณรงค์ลดผู้ป่วยโรคหูเสื่อมจากเสียงดัง เนื่องในวันการได้ยินโลก [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2561].
เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2792330.
5. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2559 [ออนไลน์].[เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents?g=11
6. กลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานกับเครื่องจักรกลการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี; 2551.
7. อริสรา ฤทธิ์งาม, เจนจิรา เจริญการไกร, สุวรรณาจันทร์ประเสริฐ, จันทร์ทิพย์ อินทวงค์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ จังหวัดระยอง.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2559;30(3): 119-36.
8. ธนพล อิทธิทูล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยินของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาธุรกิจแปรรูปเนื้อไก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.
9. ภูวสิทธิ์ สิงหภูมิ, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. ผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานใน
อุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทองจังหวัดชลบุรี.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2556;8(2):100-8.
10. อุษณีย์ จันทร์ตรี. การสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงและภาวะความดันโลหิตสูงในพนักงานที่เข้ารับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในปี พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2555. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ2556;6(22): 6-13.
11. อัจฉรารี สังสะนะ. ผลของการสัมผัสเสียงและสารละลายอินทรีย์ต่อการสูญเสียการได้ยิน[วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.
12. Schlesselman J. Case control studies: designconduct analysis. J Occup Med 1982; 24(11):879.
13. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simplemethod of sample size calculation for linear andlogistic regression. Statist Med 1998; 17: 1623-34.
14. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.แนวทางการตรวจคัดกรองและแปรผลการสูญเสียการได้ยิน (ฉบับปรับปรุง 2560) [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/samutprakarn/1hearing_chep4_baseline%202Jan2017.pd
15. พรพิมล กองทิพย์. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เบสท์ กราฟิค เพรส; 2555.
16. McBride D, Firth H, Herbison G. Noise exposureand hearing loss in agriculture: a survey of farmersand farm workers in the Southland region of NewZealand. J Occup Environ Med 2003: 45(12):1281-8.
17. จิตร เกื้อช่วย,บำเพ็ญ เขียวหวาน. ความต้องการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรตำบลบางขุนทองอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2556; 5(2):67-75.
18. นภาพร อติวานิชยพงศ์. คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 2557;33(2): 103-27.
19. นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. การพยาบาลผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยิน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์2555; 32(3): 67-76.
20. จิราพร ประกายรุ้งทอง,สุวัฒนา เกิดม่วง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน ในกลุ่มคนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(3): 98-108.
21. ชลธิชา พรมทุ่ง. การศึกษาระดับเสียงและเสียงรบกวนภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.
22. ประกาย หร่ายลอย,สมหมาย แจ่มกระจ่าง. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม 2554; 7(2): 29-41.
23. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. การดูแลสุขภาพหูและวิธีการหยอดหู [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน2561]. เข้าถึงได้ากhttps://med.mahidol.ac.th/
healthpromo/sites/default/fles/public/download/p6.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-17