การประเมินตำบลจัดการสุขภาพในการเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
การประเมินตำบลจัดการสุขภาพ, โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีบทคัดย่อ
การศึกษานี้เพื่อประเมินตำบลจัดการสุขภาพในการเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เขตสุขภาพที่ 7 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและการสะท้อนกลับ พื้นที่ศึกษาคือตำบลที่มีความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับมากกว่าร้อยละ10 ในปี 2558 คัดเลือกโดยสุ่มแบบง่าย ได้ 29 ตำบลจาก 42 ตำบล กลุ่มตัวอย่าง มี 5 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่ รพ.สต 29 คน 2) นายก อบต. 29 คน 3) ครู 87 คน 4) นักเรียน ชาย-หญิง ที่ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา (ป.4-6) คัดเลือกทุกรายที่ติดตามตรวจอุจจาระ ได้750 คน และ5) ประชาชน 750 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการทบทวนเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบทุกตำบลมีนโยบายชัดเจน มีการระดมทรัพยากรในพื้นที่ให้เอื้อต่อการดำเนินงานมีการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลประชาชนผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปครบทุกแห่ง มีศูนย์เรียนรู้ในชุมชนร้อยละ 62.1 ด้านกระบวนการ พบตำบลมีแผนสุขภาพตำบลร้อยละ 72.4 มีการจัดรณรงค์กินปลาสุกร้อยละ 100 การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดปัจจัยเสี่ยงร้อยละ 86.2 โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนร้อยละ 89.7 มีการเยี่ยมบ้านและดูแลผู้ป่วยร้อยละ 93.1 ด้าน ผลผลิต มี 4 ด้าน คือ 1) นวัตกรรมที่เกิดขึ้น พบตำบลมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีทุก 6 เดือน ร้อยละ96.6 2) ประชาชน พบว่าประชาชนในทุกตำบลมีความชุกพยาธิใบไม้ตับลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี2557 (ปี 2557 ค่าเฉลี่ยร้อยละ16.9 ส่วนปี 2560 ค่าเฉลี่ยร้อยละ9.8) มีการ คัดกรองพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีและส่งต่อไปสู่การรักษา ตลอดจนผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลประคับประคองครอบคลุมทุกตำบล 3) การกำจัดสิ่งปฏิกูล พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องในพื้นที่เป้าหมาย 4) นักเรียน พบ อัตราการติดพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 0.8 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ การปฏิบัติตนในการป้องกันควบคุมโรคร้อยละ 43.7, 20.2, 16.2 ตามลำดับ ส่วนการสะท้อนข้อมูลกลับ พบมีการคืนข้อมูลให้พื้นที่ และนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนปรับปรุงงานต่อไปร้อยละ 82.8, 69.0 ดังนั้นการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า บุคลากรที่รับผิดชอบงานตำบลจัดการสุขภาพฯ ควรหาแนวทางกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมกับปัญหาในแต่ละพื้นที่และมีการติดตามควบคุมกำกับอย่างต่อเนื่อง การทบทวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้อง ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง รวมถึงการให้ความรู้และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
References
2. ลีลาวดี พิริยะตระกูล, ธีระ ฤทธิรอด, เอื้อมแข สุขประเสริฐ, ธราธิป ศรีสุข, ศิริ เชื้ออินทร์, อรุณีมีศรี. การวิเคราะห์ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี ปีงบประมาณ 2556โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2559] เข้าถึงได้จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/pdf/
HMP2.pdf
3. SripaB,PairojkulC.Cholangiocarcinoma: lessons from Thailand. Curr Opin Gastroenterol 2008;24: 349- 56.
4. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี2559–2568. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์;2559.
5. Rangsin R, Mungthin M, Taamasri P, Mongklon S, Aimpun P, Naaglor T, et al. Incidence and risk factorofOpisthorchis viverriniinfectionsinaruralcommunity in Thailand. Am J Trop Med Hyg 2009; 8 (1): 152-5.
6. SithithawornP,Haswell–ElkinsM.Epidemiology ofOpisthorchis viverrini.ActaTropica2003;88:187-94.
7. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่น.หนังสืออ้างอิงเพื่อการเรียนการสอนเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี.
ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาธรรม; 2558.
8. ฐิติมา วงศาโรจน์, ดวงเดือน ไกรลาศ, พงศ์ราม รามสูต, วิชิต โรจน์กิตติคุณ, วรยุทธ นาคอ้าย,นันทวัน แก้วพูลศรี. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์
โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทยพ.ศ.2552; 2552.
9. Thaewnongiew K, Singthong S, Kutchamart S,Tangsawad S, Promthet S, Sailugkum S, et al.Prevalence and risk factors for Opisthorchis viverrini infections in upper northeast Thailand.AsianPacJCancerPrev2014;15(16):6609-12.
10. เกษรแถวโนนงิ้ว,ไพบูลย์สิทธิถาวร,ศศิธรตั้งสวัสดิ์,เสรีสิงห์ทอง,นิตยาชุดไธสง,วราลักษณ์ตังคณะกุล.อุบัติการณ์และการติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับใน
ชุมชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;25(3): 370-9.
11. Anbari, Frank T. A systems approach to project evaluation. PMJ 1985; 16(3): 21–6.
12. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยปี2557.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น); 2559.
13. ฐาปนะวิชัย.สถานการณ์การออกข้อกำหนดท้องถิ่นเขตสุขภาพที่9.[อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ25เม.ย.2559] เข้าถึงได้จาก http://hpc9.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=369
14. เกษรแถว โนนงิ้ว,ศศิธร ตั้งสวัสดิ์,พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว.การประเมินผลหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ2559; 35(1): 158-67.
15. SuwannahitatornP,Klomjit S,NaaglorT,Taanasri P, RangsinR,LeelayooyaS,etal. Afollow-upstudy of Opisthorchis viverrini infection after the
implementation of control program in a ruralcommunity, central Thailand. Parasites andVectors;2013.[อินเตอร์เนต].[เข้าถึงเมื่อ26ก.ย.2559] เข้าถึงได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles
16. Tomokawa S, Kobayashi T, Pongvongsa T,Nisaygnang B, Kaneda E, Honda S, et al. Riskfactors for Opisthorchis viverriniinิfection among
schoolchildren in Lao PDR. Southeast AsianJTrop Med Public Health 2012; 43(4): 574-85.
17. Pinlaor S,PrakobwongS,HirakuY,KaewsamutB, DechakhamphuS, BoonmarsT,et al. Oxidative and nitrative stress in Opisthorchis viverrini
infected hamsters: an indirect effect after praziquantel treatment. AmJTropMedHyg 2008;78 (4): 564-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น