พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค, ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, จังหวัดเลยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าสัดส่วนของประชากร ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 281 คน เก็บข้อมูลระหว่างกรกฎาคม-ธันวาคม 2559 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับประทานอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อร้อยละ 98.2 ไม่ได้รับประทานอาหารว่างระหว่างวัน ร้อยละ 66.2 ชอบรับประทานอาหารอาหารรสจืดร้อยละ 85.1 อาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้ม ร้อยละ 39.9 รับประทานอาหารเหมือนคนในครอบครัวร้อยละ 97.2 โดยพบความถี่ในการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ดังนี้รับประทานข้าวเหนียวและเนื้อปลาเป็นประจำร้อยละ 94.0 และ 84.3 รับประทานหมูติดมัน/ซี่โครงหมูบางครั้งร้อยละ 35.2 รับประทานอาหารทะเล และถั่วต่างๆ นานๆ ครั้งร้อยละ 63.0 และ 55.5 ตามลำดับ ดื่มนมถั่วเหลืองบ่อยครั้งร้อยละ 27.8 และดื่มนมจืดบางครั้งร้อยละ 34.9 รับประทานผักชนิดสีแดงเป็นประจำร้อยละ 56.2 และผักชนิดสีเขียวและสีส้มบ่อยครั้งร้อยละ 86.1 รับประทานผลไม้รสไม่หวานจัดบ่อยครั้งร้อยละ 39.9 รับประทานขนมหวานต่างๆ นานๆ ครั้งร้อยละ 53.4 ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารเป็นประจำร้อยละ 46.3 รับประทานกะทินานๆ ครั้งร้อยละ 55.5 และรับประทานเครื่องปรุง ได้แก่ น้ำปลา/ซอสปรุงรส เกลือ น้ำปลาร้า ผงชูรส/คนอร์ เป็นประจำ มากกว่าร้อยละ 80 ผลการศึกษาภาวะโภชนาการพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 42.7 มีภาวะโรคอ้วนระดับที่ 1 ร้อยละ 28.1 และมีภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 24.6 โดยพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะลงพุงร้อยละ 53.0
References
2. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิว พี จำกัด; 2555.
3. เทศบาลตำบลนาอ้อ. รายงานแผนพัฒนาสามปี ปีพ.ศ.2554-2556. เทศบาลตำบลนาอ้อ ตำบลนาอ้ออำเภอเมือง จังหวัดเลย.(เอกสารอัดสำเนา).
4. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. การสาธารณสุขไทย 2548-2550. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
5. ไพจิตรา ล้อสกุลทอง. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มารับบริการที่ศูนย์ปฏิบัติครอบครัว [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร-
มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2545.
6. สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
7. ทินกฤต มะโนจิตร. ภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราวัย
ทองนิเวศน์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
8. สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. โภชนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพ-มหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;2542.
9. เทศบาลตำบลนาอ้อ. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานตำบลนาอ้อ จังหวัดเลย [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 27มกราคม 2555]. เข้าถึงได้จาก htpp://tessabannao.com
10. พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล. กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีการพิมพ์; 2546.
11. อุทัยวรรณ ศิลปะพิพัฒน์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและโภชนาการผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง 2544; 16 (6):35-41.
12. คำปุ่น วรรณวงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.
13. อุบลวรรณ ปันทะ. การบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ [การศึกษาอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2552.
14. อมรรัตน์ ปุยงาม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.
15. ทวีศิลป์ ศรีอักษร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
16. สุรศักดิ์ สุนทร, ปริญญา มิตะรางกูร, ปริญญา จิตอร่าม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุตำบลหนองบ่ออำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดสุพรรณบุรี; 2553.
17. คณิณญา พรนริศ. โภชนาการผู้สูงอายุ. สถาบันราชภัฏเชียงใหม่; 2543.
18. อำไพ พฤติวรพงศ์กุล. อาหารพื้นบ้านไทย. ตำราวิชาการอาหารเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2547. หน้า201-78.
19. ขนิษฐา ศรีคำมี. วิถีเกษตรกรรมชุมชนนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย; 2550.
20. กรมณี ชินสุนทร. ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในชมรมไทเก็ก [การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
21. เขมฤทัย จุลพันธ์. ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนวัดล่ามช้าง [การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น