ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ case-control โดยเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและหญิงไม่ตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 24 ปี ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (case)เป็นผู้ที่ฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย หญิงวัยรุ่นทั่วไป (control) เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลที่เป็นพื้นที่วิจัย จำนวน 304 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าไค-แสควร์ ,Fisher’s exact test และการวิเคราะห์ด้วยสถิติลอจิสติกแบบทีละคู่
ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 50 ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมเริ่มดื่มครั้งแรกอายุต่ำกว่า 15 ปี และส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลของเพื่อนชักจูงร้อยละ 91.7 อาการส่วนใหญ่ภายหลังดื่มจะมีอาการปวดศีรษะและอาเจียนร้อยละ 59.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมาจากการชักชวนของเพื่อนสนิท (p=0.040)และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของหญิงวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของหญิงวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.050 ) โดยหญิงวัยรุ่นที่เคยดื่มมีโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์เป็น 1.6 เท่า ( 95 % CI: 1.012-2.535) ของหญิงวัยรุ่นที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ในการวางแผนจัดโปรแกรมการสอนทักษะชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ วิธีการป้องกันการตั้งครรภ์เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มหญิงวัยรุ่น
References
2. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กระทรวงสาธารณสุข.ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. นนทบุรี: ศวส.;2553.
3. Splarn H. Binge drinking leads to unwantedpregnancies.2014 [internet]. [cited 2017 Nov17].Availablefromhttps://www.generationnext.
com.au/2011/05/binge-drinking-leads-tounwanted-pregnancies/
4. Bellis AM, Morleo M, Tocque K, Dedman D,Phillips-HowardP,PerkinsC,etal.Contributions of alcohol use to teenage pregnancy An initialexamination of geographical and evidence basedassociations. HattonGarden, Liverpool : Centrefor Public Health Faculty of Health & AppliedSocial Sciences, Liverpool John MooresUniversity; 2009.
5. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อโนชา หมึกทอง, ถนอมศรี อินทนนท์. การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์; 2551.
6. รัชณัน ชินกุลกิจนิวัฒน์, ปัณฑิณี ตัณฑ์ศรีสุวรรณ.การบำบัดรักษาและวิธีการเลิกดื่มแอลกอฮอล์.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiantialcohol.com/newsletters/view/7
7. กรมสุขภาพจิต.ปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น.[อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม2556]. เข้าถึงได้จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/336092.2554
8. Steinberg L. Adolescence. New York : McGrawHill; 1996.
9. อรทัย วลีวงศ์, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ ,ทักษพล ธรรมรังสี.บทบาทและพฤติกรรมของพ่อแม่ที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย; 2553.
10. Green LW, Kreuter MW.Health promotion planning:Aneducationalandecologicalapproach.3rded. Mountain View,CA: Mayfeld.;1999.
11. Bowing A, Ebrahim S. Handbook of health research methods: investigation, measurement and analysis. U.K : Open University Press;2005.
12. อรทัย วลีวงศ์.มองรอบด้าน “นักดื่มวัยรุ่นกับแม่ในวัยเรียน.[อินเทอร์เน็ต].2554 [เข้าถึงเมื่อ17 ต.ค.2560].เข้าถึงได้จากhttp://www.thaihealth.or.th/data/ecatalog/256/pdf/256.pdf
13. Polit DF, Hungler BP. Essentials of nursing research : methods, appraisals, and utilization. Philadelphia : Lippincott; 1997.
14. องค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย.การวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทยรายงานการสังเคราะห์; 2558. กรุงเทพมหานคร :องค์การยูนิเซฟ.
15. Naimi TS, Lipscomb LE, Brewer RD, Colley Gilbert B. Binge drinking in the preconception period and the risk of unintended pregnancy:
Implicationsforwomenandtheirchildren. Pediatrics2003; 111: 1136.
16. Caputo GV, Bordin AI.Teenage pregnancy andfrequent use of alcohol and drugs in the homeenvironment. Rev Saude Publica 2008; 42(3):1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น