ผลการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขที่มีต่อความรู้และการปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ วัณโรคในเครือข่ายสุขภาพอำเภอเกษตรวิสัยตามแนวคิดการเสริมแรงทางพฤติกรรมของฮัลล์

ผู้แต่ง

  • ยุวดี วานิชชัง Roi-Et Provincial Public Health Office
  • จารุวรรณ บุญศล Kaset Wisai Hospital Roi-Et Province
  • อาภรณ์ ถนัดค้า Kaset Wisai Hospital Roi-Et Province

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อ, และแนวคิดการเสริมแรงทางพฤติกรรมของฮัลล์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-experimental Design)แบบ One group pretest posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรสาธารณสุขที่มีต่อความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในเครือข่ายสุขภาพอำเภอเกษตรวิสัย ประชากรที่ศึกษา แบ่งเป็น  2  กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 16 คน ประกอบไปด้วยพยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุขใน รพ.สต. และ สสอ.  กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จำนวน 11 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วยแผนการอบรมให้ความรู้  คู่มือการปฏิบัติ  โปสเตอร์   จดหมายให้ข้อมูลย้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม  แบบทดสอบความรู้   แบบสอบถามการปฏิบัติ และแบบบันทึกการสังเกต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบทดสอบความรู้  และแบบสอบถามการปฏิบัติ เท่ากับ 0.86 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) Wilcoxon match-pairs Signed Ranks Test และ Fisher exact test

                             ผลการศึกษาก่อนการพัฒนาพบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน เฉลี่ยเท่ากับ 12.81 คะแนน  มัธยฐานเท่ากับ 13.00 ค่าเฉลี่ยเรียงลำดับเท่ากับ 12.50 ค่าความแปรปรวนท่ากับ 13.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน  ภายหลังการพัฒนา พบว่า  บุคลากรสาธารณสุขมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน เฉลี่ยเท่ากับ 17.62 คะแนน  มัธยฐานเท่ากับ 17.00 ค่าเฉลี่ยเรียงลำดับเท่ากับ 0.00 ค่าความแปรปรวนท่ากับ  5.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ซึ่งสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) หลังการพัฒนา  บุคลากรสาธารณสุขมีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในทุกกิจกรรม พบว่า  มีการปฏิบัติเพิ่มขึ้นทุกกิจกรรมจากร้อยละ 55.56 เป็นร้อยละ 96.30 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) และสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค  หลังการพัฒนา  พบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีการปฏิบัติกิจกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในทุกกิจกรรม พบว่า มีการปฏิบัติเพิ่มขึ้นทุกกิจกรรมจากร้อยละ 66.67 เป็นร้อยละ 88.89 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) 

References

1. Kays MB. Applied therapeutics: the clinical use of drugs. Maryland. Lippincott Williams & Wilkins;2006.
2. Keskiner R, Ergonul O, Demiroglu Z, Eren S,Baykam N, Dokuzoguz B. Risk of tuberculosis infection among healthcare workers in a tertiary care hospital in Ankara, Turkey. Infect Control Hosp Epidemiol 2004; 25(12):1067-71.
3. Pinto S. Tuberculosis: occupational exposure andprevention inhealthcare settings. Cinahl Information Systems; 2005.
4. Sepkowitz KA, & Eisenberg L. Occupational deaths among healthcare workers. Emerg Infect Dis 2005; 11(7): 1003-8.
5. Harries AD, Hargreaves NJ, Gausi F, Kwanjana JH, Salaniponi FM. High death in health care workers and teachers in Malawi. Trans R Soc Trop
Med Hyg 2002; 96: 34–7.
6. Yannelli B, Gurevich L, Richardson J, Gianelli B, Lunia BA. Sinifcance of fever in hospital employee. Am J Infect Control 1990; 18(2):93-8.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด จังหวัดร้อยเอ็ดเขตสุขภาพที่ 7. ตรวจราชการรอบที่ 1/2560
ระหว่างวันที่ 8–10 กุมภาพันธ์ 2560. (เอกสารอัดสำเนา)
8. Fowler G. Evidence-based practice: tools andtechniques. Research and education center.[Online]. [cited 2017 March 11]. Available from:https://core.ac.uk/download/pdf/34718379.pdf
9. พนิดา ว่าพัฒนวงศ์, ชมพูนุช สุภาพวานิช, อรรณพสนธิไชย. พฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560;9 (1):74-85.
10. Bloom BS, editor In: Taxonomy of educational objectives handbook I: cognitive domain. (17thed.). New York: David Mackay; 1974.
11. จุฬาพร ยาพรม, กัญญดา ประจุศิลป. ผลของการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและจำนวนวันนอนของผู้ป่วย. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 296-303.
12. นวลนิตย์ แก้วนวล, เยาวลักษณ์ อำรำไพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557; 9 (4): 193-202.
13. นิศมา แสนศรี, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, อะเคื้ออุณหเลขกะ. ผลของการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลแบบมุ่งเป้าของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อหอผู้ป่วย.พยาบาลสาร 2558;42(4):36-47.
14. Sutherland P. Adult learning: a reader. London:Kogan page; 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-16