การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมน้ำหนักเกินที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

ผู้แต่ง

  • กุลธลีย์ ชายเกตุ Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.
  • อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.
  • อุษณีย์ เพชรรัชชะชาติ Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรม, การเลือกรับประทานอาหาร, ผู้ป่วยเบาหวานมุสลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมน้ำหนักเกินที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โดยใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและการให้ความรู้ของโอเร็ม เป็นกรอบแนวคิด โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การระบุประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม และขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ ประเมินงานวิจัย และสังเคราะห์ เพื่อตัดสินความพอเพียงและคุณภาพของงานวิจัย สำหรับระยะประเมินคุณภาพของโปรแกรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเที่ยงในการนำไปใช้ และขั้นตอนที่ 3 การนำไปศึกษานำร่องเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการนำโปรแกรมไปใช้ โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวานจำนวน 5 ท่าน สาระสำคัญของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมน้ำหนักเกินที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มี 6 องค์ประกอบคือ 1) การประเมินภาวะโภชนาการ 2) การกำหนดพลังงานที่เหมาะสม 3) สัดส่วนอาหาร 4) อาหารแลกเปลี่ยน 5) การเลือกประเภทอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมุสลิม  และ6) หลักการบริโภคตามแนวทางของอิสลามเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย 3 ส่วน  1.โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมน้ำหนักเกินประกอบด้วยเครื่องมือ 4 ชนิดใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ คือ  แนวปฏิบัติของโปรแกรมสำหรับพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   แผนการส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมุสลิม คู่มือการเลือกรับประทานอาหารสื่อที่ใช้ในการสอน ได้แก่ โมเดลอาหารแลกเปลี่ยน และภาพพลิกประกอบคำบรรยายเรื่อง หลักศาสนาอิสลามกับการบริโภค 2. แบบประเมินความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมและ 3 แบบประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของโปรแกรม

                   การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีความเห็นว่า เนื้อหาและรูปแบบถูกต้องตามหลักวิชาการ มีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่และชัดเจน ผลการตรวจสอบความเที่ยงโดยการหาค่าความสอดคล้องตรงกันจากพยาบาลผู้ทดลองใช้โปรแกรม 5 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 เมื่อนำไปให้พยาบาลผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา 5 ท่านทดลองใช้จริง พบว่า โปรแกรมนี้มีความเหมาะสม เนื่องจากมีขั้นตอนของกิจกรรมชัดเจน และใช้ง่าย

                   โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ช่วยให้พยาบาลมีแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมน้ำหนักเกินที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ยังคงต้องได้รับการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโปรแกรม และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ

References

1. WorldHealthOrganization.WorldHealthStatistics 2012:WorldHealthOrganization;2012[Online]. [cited 2012 Jun 12]. Available from: http://www.who.int/
2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานพ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.
3. รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร,เบ็ญจลักษณ์ ผลรัตน์. โรคอ้วนและระบาดวิทยา. ใน รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร, บรรณาธิการ,โรคอ้วน การเปลี่ยนทางด้านโภชนาการและชีวเคมี .
(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์;2550.
4. วิมลรัตน์ จงเจริญ. โภชนาการและโภชนบำบัดทางการพยาบาล. สงขลา: ก็อปปี้ คอร์นเนอร์ดิจิตอลปริ้นเซ็นเตอร์; 2552.
5. วิมลรัตน์ จงเจริญ, วันดี คหะวงศ์, อังศุมา อภิชาโต,อรนิช แสงจันทร์, ประภาพร ชูกำเนิด, กัลยาณีบุญสิน และคณะ. รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26: 71-84.
6. สมาคมนักกำหนดอาหาร.การกำหนดรายการอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน.กรุงเทพมหานคร: จุดทองจำกัด;2551.
7. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยกรมการแพทย์และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรค
เบาหวาน 2554.กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์;2554.
8. สุพัตรา ศรีวณิชชากร, บรรณาธิการ. คู่มือหน่วยบริการปฐมภูมิ:การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2552.
9. มยุรา อินทรบุตร, เบญจา มุกตพันธ์. การรับรู้และการปฏิบัติด้านการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550;22: 283-90.
10. ยูซุฟ นิมะ,สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. การแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิม (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์; 2551.
11. ดำรง แวอาลี. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวทางอิสลาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์; 2552
12. กษิดิษ ศรีสง่า. การแพทย์ตามแนวทางท่านศาสดามุฮัมมัด ซล. แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;
2548.
13. OremDE,TaylorSG,&RenpenningKM.Nursing:Concepts of practice (6th ed). St. Louis, MO:Mosby year book; 2001.
14. ปรีดา หนูแดง. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.
15. Titler MG, Kleiber C, Steelman VJ. The IOWAmodel of evidence-based practice to promotequality of care. Crit Care Nurse Clin North Am.
2001; 13: 497-509.
16. รุสนานี แวหามะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลือกรับประทานอาหารพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.
17. พงค์เทพ สุธพีรวุฒิ, ยูซุฟ นิมะ. บรรณาธิการ.การบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างเสริมสุขภาพ: อาหารและโภชนาการ.สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
18. วัลลภา ทุ่งปรือ. การมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการจัดการด้านอาหารของผู้สูงอายุมุสลิมที่เป็นเบาหวาน[สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
19. ธัญพร สมันตรัฐ. การพัฒนาคู่มือสำหรับครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานไทยมุสลิม [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.
20. ซอฟียะห์ นิมะ, ยูซุฟ นิมะ และทีมอาหารและโภชนาการ โครงการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้. การบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างเสริมสุขภาพ:สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-16