ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมทฤษฎีแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุนทรี สุรัตน์ Chiangrai College
  • กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ Chiangrai College
  • ณรงค์เดช วิชัยรัมย์ Chiangrai College

คำสำคัญ:

ทฤษฎีแรงจูงใจ, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมทฤษฎีแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย  เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมกัน วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่คำ จำนวน 48 คนและแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน และจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มทดลองตามแผนการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมทฤษฎีแรงจูงใจ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Independent samples t-test ผลการวิจัย พบว่า ก่อนใช้โปรแกรมทฤษฎีแรงจูงใจ พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้านการควบคุมอาหาร ด้านการออกลังกาย และด้านการใช้ยา ในกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ส่วนผลการทดลองหลังใช้โปรแกรมทฤษฎีแรงจูงใจ พบว่า พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้านการควบคุมอาหาร ด้านการออกลังกาย และด้านการใช้ยา ในกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ โดยที่กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมควบคุมอาหาร ด้านการออกลังกาย และด้านการใช้ยา มากกว่ากลุ่มควบคุม

References

1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อจังหวัดเชียงราย.เอกสารประกอบการประชุมหัวหน้าหน่วยงานราชการจังหวัดเชียงราย;
2554.(เอกสารอัดสำเนา).2. American Diabetes Association. Standards ofmedical care in diabetes 2011. Diabetes Care;2011.
3. สุนทรี สุรัตน์, กิตติ ศศิวิมลลักษณ์, เกวลี เครือจักร,วิโรจน์ มงคลเทพ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2559;4(2):297-307.
4. Rogers RW. Cognitive and physiologicalprocessesin fear appeals and attitude change: A revised theoryof protection motivation. In: J. T. Cacioppo & R.E.
Petty Eds., Social psychophysiology; 1983.
5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่จัน. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. สถิติเวชระเบียน. โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย; 2557.(เอกสารอัดสำเนา).
6. เยาวลักษณ์ วงศ์ชาญศรี. การจัดการเพื่อสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข
ศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.
7. มุทิตา ชมพูศรี. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่หน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอสบปราบจังหวัด
ลำปาง [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-16