ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูม
คำสำคัญ:
ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการคำนวณจากสูตรที่ทราบจำนวนประชากร จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 370 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ของ อัลฟา ครอนบาคซ์ มีค่าการรับรู้ภาวะสุขภาพเท่ากับ 0.75 การสนับสนุนทางสังคมเท่ากับ 0.75 และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ ระดับการสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง การสนับสนุนทางสังคม และอาชีพ สามารถร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยมีความแม่นยำในการพยากรณ์ร้อยละ 7.50 (R2 = 0.075)ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในด้านสาธารณสุขและส่วนท้องถิ่นควรให้การช่วยเหลือ เช่น การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ สื่อต่างๆ องค์ความรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้ดียิ่งขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น