การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเพิ่มระดับ เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือด ระหว่างสมุนไพรรางจืด และย่านางแดงในกลุ่มเกษตรกร
คำสำคัญ:
สมุนไพรรางจืด, สมุนไพรย่านางแดง, โคลีนเอสเตอเรส, ออร์กาโนฟอสเฟต, คาร์บาเมตบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเพิ่มระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสระหว่างชาชงสมุนไพรรางจืดและชาชงสมุนไพรย่านางแดง ในกลุ่มเกษตรกรอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 85 คน
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 ดื่มชาชงสมุนไพรรางจืด 42 คน กลุ่ม 2 ดื่มชาชงสมุนไพรย่านางแดง 43 คน ให้กลุ่มตัวอย่างดื่มชาชงวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเป็นเวลา 14 วัน เปรียบเทียบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสก่อนและหลังการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ Will Coxon Mathed-Pairs Sign Rank Test และ Mann Whitney U Test ผลการ
วิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีระดับเอนไซม์หลังดื่มชาชงสมุนไพรสูงกว่าก่อนดื่ม (p<0.001) และเมื่อเปรียบเทียบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองพบว่า ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของกลุ่มที่ดื่มชาชงสมุนไพรรางจืดสูงกว่าระดับเอนไซม์ของกลุ่มที่ดื่มชาชงสมุนไพรย่านางแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U=5.50,p<0.001) ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือการดื่มชาชงสมุนไพรรางจืดหรือชาชงสมุนไพรย่านางแดง แต่ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวานเพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่นอย่างต่อเนื่อง เพราะรางจืดและย่านางแดงอาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกาย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น