ปัจจัยสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุม โรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรค ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ไข้เลือดออก, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2553 จำนวน 248 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณตามแบบการวิเคราะห์ถดถอยพหุ(Multiple Regression Analysis) ได้ขนาดตัวอย่าง 134 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2554 ด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.97 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 51.50 อายุเฉลี่ย 35.83 ± 8.86 ปี สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 62.68 ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 73.88 รายได้ระหว่าง 10,001–20,000บาท คิดเป็นร้อยละ 50.00 Median = 20,000 บาท (Minimum = 8,000 บาท, Maximum = 42,500 บาท)ค่ามัธยฐานของประสบการณ์ทำงานควบคุมโรคไข้เลือดออก = 10 ปี ต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 35 ปี ระดับการสนับสนุนจาก
องค์การภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 130.31 ± 12.42) และระดับการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 154.82 ± 1.36) ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์การที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่นคือ ปัจจัยด้านการบริหาร และปัจจัยด้านงบประมาณ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ร้อยละ 57.60 ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือ การสนับสนุนจากองค์การด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ จึงควรมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและอุปกรณ์ มีการดูแลซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้พร้อมใช้งานเสมอ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น