รูปแบบการบริโภคอาหารของกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ และกลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ในอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภ
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, รูปแบบการบริโภคอาหารบทคัดย่อ
รูปแบบในการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบและปริมาณการบริโภคอาหารของกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่และกลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลการบริโภคย้อนหลังในกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2รายใหม่ และกลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มละ 123 คน ในพื้นที่อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป การบริโภคอาหารมื้อต่างๆ และความถี่การบริโภคอาหารกึ่ง
ปริมาณ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มร้อยละ 78.9 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.0 ปี มากกว่าร้อยละ
80.0 ของทั้งสองกลุ่ม รับประทานอาหารหลัก 3 มื้อ/วัน เวลาในการรับประทานอาหารไม่แน่นอน ในมื้อเย็นทั้งสองกลุ่มจะรับประทานอาหารในปริมาณมาก ในด้านความถี่การบริโภคอาหารต่างๆ พบว่า กลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ บริโภคข้าวเจ้าบ่อยครั้งและปริมาณมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานบริโภคเนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่ อาหารทะเล อาหารประเภทไขมัน ขนมหวานและเครื่องดื่มรสหวาน บ่อยครั้งและปริมาณมากกว่ากลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานบริโภคผัก
และผลไม้ปริมาณมากกว่ากลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหมกล่าวโดยสรุป กลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานมีการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่ากลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ทั้งในด้านความถี่และปริมาณการรับประทานดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องในกลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานเพื่อเป็นการป้องกันคนกลุ่มนี้ไม่ให้มีการพัฒนาเป็นโรคเบาหวานต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น