การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ที่มีอาการปวดหลัง: หมู่ที่2ตำบลโนนสะอาดอำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธาน
คำสำคัญ:
ปวดหลัง, การพัฒนาศักยภาพ, การมีส่วนร่วม, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, AICบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(ActionResearch)ซึ่งใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม(AppreciationInfluenceControlTechnique:AIC)เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ที่มีอาการปวดหลังหมู่ที่2ตำบลโนนสะอาดอำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธานีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอาการปวดหลัง30คนการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติPairedt-testที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปSTATAและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่1มิถุนายน2553-31มีนาคม2554ผลการศึกษาพบว่าหลังการพัฒนาศักยภาพคะแนนด้านความรู้และการปฏิบัติตนระดับดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001)และคะแนนความรู้สึกปวดหลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001)ผลการจัดประชุมด้วยเทคนิคAICได้โครงการที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชุมชนจำนวน4โครงการผลการวิจัยครั้งนี้สามารถทำให้ผู้ที่มีอาการปวดหลังมีความรู้และการปฏิบัติตนดีขึ้นและมีอาการปวดหลังลดลงและทำให้ชุมชนเริ่มสนใจปัญหาอาการปวดหลังนำไปสู่การร่วมกันแก้ไขปัญหาอาการปวดหลังในชุมชนเพื่อผลที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น