พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ปรีดาศักดิ์ หนูแก้ว Buengkan District Health Offce, Nongkhai Province
  • วิทยา ิ ผ่องแผ้ว Chaiyaporn Health Center
  • กีรติ สวยสมเรียม Ban Phasawan Health Center

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออก, พฤติกรรมการป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลชัยพรอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.82 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 20 กรกฎาคม 2552 ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 59.50 อายุต่ำสุด 15 ปี สูงสุด 81 ปี(Mean = 40.86, S.D. = 11.83) ส่วนใหญ่มีสถานะภาพสมรสคู่ร้อยละ 86.50 จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 62.50ส่วนใหญ่รายได้ต่อปีต่ำกว่า 100,000 บาท (ร้อยละ 65.50) มีความรู้และทัศนคติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับดีร้อยละ 97.00 (Mean = 0.86, S.D. = 0.10) และ 91.00 (Mean= 4.12, S.D. = 0.33) พฤติกรรมใน
การป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับดีร้อยละ 62.00 (Mean = 2.46, S.D. = 0.28) โดยพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = -0.155, r =0.028) โดยความรู้ทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ร้อยละ 2.40 แสดงให้เห็นว่ายิ่งประชาชนมีความรู้มากพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกจะลดลง ดังนั้นเราควรสร้างความตระหนักในด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันโรคให้แก่ชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15