การ​จัดการ​มูลฝอย​ของ​โรง​พยาบาล​สมเด็จ​พระ​ยุพราช​ท่าบ่อ​ อำเภอ​ท่าบ่อ​จังหวัด​หนองคาย

ผู้แต่ง

  • มาฤ​นัย​ ​โพธิ​เสน​​​ Thabo ​Crown ​Prince​ Hospital,​​​​​​​ ​ Amphor​Thabo,​NongKhai​ Province
  • กาญ​นิ​ถา​ ​ครอง​ธรรมชาติ​​ Department​of​Environmental​Health​Sciences, Faculty​of​Public​Health,​Khon​Kaen​University

คำสำคัญ:

มูลฝอย, การจัดการมูลฝอย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experiment) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการมูลฝอยสำรวจปริมาณของมูลฝอยทั่วไป และมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้น รวมถึงความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวของบุคลากรในการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการให้ความรู้โดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 10 คนและเจ้าหน้าที่จำนวน194 คน นำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ พบว่าเจ้าหน้าที่เคยได้รับการอบรมในเรื่องการจัดการมูลฝอย ร้อยละ 63.9 โดยมีพนักงานทำความสะอาดมาเก็บมูลฝอยอยู่ในแผนกคิดเป็นร้อยละ 91 เจ้าหน้าที่ต้องการให้มีการจัดการอบรมในเรื่องการจัดการมูลฝอยมากถึงร้อยละ 93.6 ในด้านของปริมาณมูลฝอย ศึกษาโดยเปรียบเทียบปริมาณมูลฝอยก่อนการอบรมและหลังการอบรมในช่วงเดียวกันของเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม พ.ศ. 2551 และ 2552 พบว่า ปริมาณมูลฝอยในโรงพยาบาลลดลง ในเดือนดังกล่าวเท่ากับ 352, 550 และ 605 กิโลกรัมตามลำดับ (คิดเป็นร้อยละ 7.7, 15.3 และ 15.5 ตามลำดับ) มีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ยต่อเตียงก่อนการอบรมและหลังการอบรมคิดเป็น 44.7 และ 39.1 กิโลกรัมต่อเตียง ด้านความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการจัดการมูลฝอยของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อพบว่า หลังจากการอบรมแล้ว เจ้าหน้าที่มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11.1 และผู้บริหารมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 30.9 การวัดระดับความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการจัดการมูลฝอยพบว่า เจ้าหน้าที่และผู้บริหารของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ มีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยและการจัดการมูลฝอยเพิ่มขึ้น โดยมีระดับความรู้มาตรฐานเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 6.7 และ 20 ด้านการปฏิบัติ
ตัวในการจัดการมูลฝอยพบว่า การปฏิบัติตัวของเจ้าหน้าที่ในการจัดการมูลฝอยส่วนใหญ่ยังขาดวินัยเกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอย และมูลฝอยติดเชื้อ รวมถึงการทิ้งให้ถูกต้อง ภายหลังจากได้รับการฝึกอบรมแล้วพบว่า การปฏิบัติตัวของเจ้าหน้าที่ในการจัดการมูลฝอย มีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 13.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15