ความรู้การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกพฤติกรรมการดำเนินงาน ป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของ อาสาสมัครสาธารณสุขกรณีศึกษาจังหวัดประจวบคิีรีขันธ์2553
คำสำคัญ:
ความรู้, การรับรู้, พฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก, ปัจจัย, อาสาสมัคร สาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะด้านประชากร ระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยเครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบทดสอบและแบบวัดพฤติกรรม รวบรวมข้อมูลระหว่างเมษายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2553 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลใช้สถิติได้แก่จำนวนร้อยละค่าเฉลี่ยสถิติทดสอบt-test,ANOVAและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.1 กลุ่มอายุระหว่าง 41– 50 ปีร้อยละ41.3การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ70.8ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ51.7ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน น้อยกว่า 10 ปีร้อยละ 59.4 ระยะเวลาระหว่าง 15 - 20 ปีร้อยละ9.2และไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้านร้อยละ48.9ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 46.7 การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูงอายุต่างกันมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูงร้อยละ87.0เพศ และการดำรงตำแหน่งอื่นๆ ในหมู่บ้านต่างกัน มีการรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูงร้อยละ76.5คุณลักษณะด้านเพศการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกการรับรู้ความสามารถตนเองและความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติข้อเสนอแนะควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความรู้ทักษะเทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกการแจ้งข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ของโรคให้ทราบเป็นประจำควรแนะนำแหล่งข้อมูลความรู้ที่สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมทุกครั้งเพี่อเป็นการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น