ปัจจัย​ที่​มี​ผล​ต่อ​การ​ปฏิบัติ​ตน​เพือ​ป้องกัน​โรค​ไข้​หวัด​ใหญ่​ ชนิด​A​(2009​H1N1)​ของ​ประชาชน​อำเภอ​นามน​จังหวัด​กาฬสินธ

ผู้แต่ง

  • สัญญา สุปัญญาบุตร Namon Hospital, Kalasin Province

คำสำคัญ:

โรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009 H1N1), ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 500 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009H1N1) ระดับสูงร้อยละ 81.40 มีความรู้ระดับสูง ร้อยละ 90.20 มีทัศนคติระดับปานกลาง ร้อยละ 88.20 มีการปฏิบัติระดับปานกลางร้อยละ 53.40 ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009 H1N1)ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตน คือ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ ความรู้ และทัศนคติ (p <0.001) ส่วนปัจจัยด้าน เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา และประวัติการเจ็บป่วยโรคไข้หวัด ไม่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009 H1N1) ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (2009 H1N1) ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15