ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ, อุบัติเหตุ, ผู้สูงอายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุ ในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 253 คน อาศัยอยู่ในเขตตำบลขามป้อมอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในตัวบ้าน และบริเวณรอบๆ ตัวบ้าน ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2553 เป็นข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุย้อนหลัง ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Chi-square testและ Fisher’s exact test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Multiple logistic regressionและนำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio และช่วงเชื่อมั่น 95%ผลการวิจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุพบว่า การมีประวัติเคยเกิดอุบัติเหตุ การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่มี
ประวัติเคยเกิดอุบัติเหตุ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 6.4 เท่า ของผู้สูงอายุที่ไม่มีประวัติเคยเกิดอุบัติเหตุ(95%CI = 2.65-15.36) ส่วนผู้สูงอายุที่สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 5.7 เท่าของผู้สูงอายุที่สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม (95%CI = 1.49 - 1.78)ข้อเสนอแนะ สำหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ควรมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุควรใส่รองเท้าที่มีความเหมาะสมกับขนาดของเท้า พื้นรองเท้าต้องไม่ลื่น และรองเท้าที่ใช้งานมานานควรเปลี่ยนใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในตัวบ้าน ควรจัดวางสิ่งของต่างๆ ให้เป็นระเบียบไม่กีดขวางทางเดิน และสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆตัวบ้าน ควรปรับสภาพพื้นไม่ให้ขรุขระ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น