ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้ปลูกยาสูบในตำบลลำห้วยหลัวอำเภอสมเด็จจังหวัดกาฬสินธ
คำสำคัญ:
ผลกระทบต่อสุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรปลูกยาสูบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาผลกระทบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ปัจจัยเสี่ยงของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกยาสูบในเขตตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 55 คน ใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณาโดยการสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการตรวจวัดระดับเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรส ระหว่างฤดูเพาะปลูกและหลังฤดูเพาะปลูก การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน หาความสัมพันธ์ของระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสเปรียบเทียบในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก กับหลังฤดูกาลเพาะปลูก และหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืช กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส โดยการวิเคราะห์หาค่า Odds ratioผลการศึกษาพบว่าภายหลังการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรมีอาการทางสุขภาพที่พบมากที่สุด คือ
วิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 61.82 รองลงมา คือ อาการปวดศีรษะ ร้อยละ 56.36 โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะปล่อยให้หายเอง ช่องทางการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายพบว่า ร้อยละ 65.45 ผ่านทางการหายใจ เกษตรกรเพียงร้อยละ 32.89 ที่ได้รับความรู้และการแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรและร้อยละ 11.04 จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ด้านพฤติกรรมไม่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชพบว่าเกษตรกรร้อยละ 9.09 ใช้มือเปล่าผสมสารเคมี ร้อยละ 3.64 ไม่ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ และร้อยละ 3.64 ใช้ปากเป่าหัวฉีดพ่น ผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรสพบว่าเกษตรกรผู้ฉีดพ่นมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับที่เสี่ยงอันตรายมากกว่าผู้สัมผัส รูปแบบอื่นผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสพบว่าพฤติกรรมไม่ถูกต้องที่สำคัญ คือ การหยุดพักสูบบุหรี่ การดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารในระหว่างการทำงานมี
ความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีระดับความเสี่ยงเป็น 12 เท่า 95% ช่วงเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 1.32 ถึง 145.72 เกษตรกรที่อาบน้ำในบ่อน้ำตื้นหลังเลิกทำงานมีความเสี่ยงต่ออาการปวดศีรษะ 6.94 เท่า 95% ช่วงเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 1.78 ถึง 28.30ผลการศึกษาโดยสรุปชี้ว่าพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของ เกษตรกร แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบควรมีการเฝ้าระวังโรคและให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น