ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดชัยภูม
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด, เบาหวาน, วัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดยวิธีทางวิทยาการระบาดแบบ Unmatched case-control เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดชัยภูมิ เก็บข้อมูลย้อนหลังจากการคัดลอกเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแก้งคร้อ ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ คอนสวรรค์ และบ้านแท่น ในช่วงวันที่ 1ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2553 ประชากรศึกษา คือ ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 13,161 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน273 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา คือ กลุ่มป่วยเป็นวัณโรคปอด (Case) จำนวน 91 คนและกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ไม่ป่วยเป็นวัณโรค (Control) จำนวน 182 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอเป็น ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด สูงสุด การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว ใช้สถิติChi-square หาขนาดความสัมพันธ์ใช้ Odds ratio (OR) หลังจากการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว ตัวแปรที่่ค่า P-value<0.25 นำมาวิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR(ORadj) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองหาวัณโรคจำนวนทั้งหมด 13,161 คน มีอัตราส่วนเพศชายต่อหญิง 0.6 พบผู้ป่วยเบาหวานเป็นวัณโรคปอดรายใหม่ 91 คน คิดเป็นอัตราความชุกวัณโรคปอด 6.9 รายต่อประชากรเบาหวาน 1,000 คนและมีอัตราส่วนเพศชายต่อหญิง 1.3 จากการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value<0.05 ได้แก่เพศชาย (OR=1.74; 95% CI=1.01–2.98) ระดับ Hemoglobin A1c (HbA1c)≥7.0 mg% (OR=3.63; 95%CI=1.97–6.70) มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน (OR=2.17; 95% CI=1.18–3.98) การมีผู้ป่วยวัณโรคร่วมบ้าน(OR=4.87; 95% CI=1.49–18.36) การใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค (OR=5.41; 95% CI=2.21–14.10) และการดูแลผู้ป่วยวัณโรค (OR=4.17; 95% CI=1.47–12.76) ส่วนการวิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุถดถอยลอจิสติก โดยควบคุม
ตัวแปรเพศและอายุ พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรคในผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value<0.05 ได้แก่ เพศชาย (ORadj=2.09; 95% CI=1.17–3.74) การใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค (ORadj=5.39;95% CI=2.20–13.16) และระดับ HbA1c≥7.0 mg% (ORadj=3.42; 95% CI=1.87–6.25)จากผลการศึกษาพบว่า ความชุกของวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานค่อนข้างสูง ควรมีการคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายร่วมกับให้ความรู้วัณโรคในผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับความเสี่ยงต่อการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ร่วมกับมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคทำให้มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคสูง เพราะฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ควรได้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจหาวัณโรคทุกราย สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรหามาตรการดูแลรักษาให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้ระดับ HbA1c สูงเกิน7.0 mg% เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน และควรมีการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น