คุณภาพ​ชีวิต​ครอบครัว​และ​ความ​พึง​พอใจ​ต่อ​อาชีพ​เย็บ​ผ้า​โหล​ ตาม​การ​รับ​รู้​ของ​สตรี​เย็บ​ผ้า​โหล:​กรณี​ศึกษา​จังหวัด​ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปรีย​า​​ ​​ปรุง​คำ​มา​​​ Kannuea​Primary​Health​Center,​Banphai,​Khon​Kaen
  • ดาร​ุณี​​ จง​อุดมการณ์​​ Faculty​ of ​Nursing, ​Khon​ Kaen ​University

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตครอบครัว, ความพึงพอใจ, สตรีแรงงานนอกระบบเย็บผ้าโหล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตครอบครัวตามการรับรู้ของสตรี
แรงงานเย็บผ้าโหล ความพึงพอใจต่ออาชีพเย็บผ้าโหลตามการรับรู้ของสตรีเย็บผ้าโหล และความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่ออาชีพเย็บผ้าโหลกับคุณภาพชีวิตครอบครัวตามการรับรู้ของสตรีเย็บผ้าโหลในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครอบครัวสตรีเย็บผ้าโหลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 150 ครอบครัวที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์เป็นสตรีเย็บผ้าโหลที่เป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว เครื่องมือซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคุณภาพชีวิตครอบครัว และแบบประเมินความพึงพอใจต่ออาชีพเย็บผ้าโหล ตรวจสอบในแง่ความเหมาะสมของภาษาและความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ6 คน และค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ0.95 และ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 208.7, SD. = 23.8) ด้านกายภาพ( = 25.9, SD. = 3.3) และด้านแหล่งประโยชน์สนับสนุน ( = 38.8, SD. = 5.6) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านจิตอารมณ์สังคมและจิตวิญญาณ ( = 22.8, SD. = 2.3) และด้านการทำหน้าที่ของครอบครัว ( = 113.8,SD. = 14.3) อยู่ในระดับดี ความพึงพอใจต่ออาชีพเย็บผ้าโหลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 60.9, SD. = 7.7)ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่ออาชีพเย็บผ้าโหลกับคุณภาพชีวิตครอบครัวมีความสัมพันธ์กันด้านบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (r = 0.32, p-value < 0.001) ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำหน้าที่ครอบครัวของแรงงานนอกระบบต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-14