การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการโรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ต้นทุน, การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลเปือยน้อยจังหวัดขอนแก่น ในมุมมองของผู้ให้บริการรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลระหว่างวันที่1มิถุนายนถึง31สิงหาคม2553โดยหน่วยต้นทุนแบ่งออกเป็น3ประเภทได้แก่1)หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้2)หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้และ3)หน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วยซึ่งต้นทุนรวมของหน่วยต้นทุนไม่ก่อให้เกิดรายได้และหน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้จะกระจายมายังหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วยโดยใช้วิธี
สมการเส้นตรงการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการงานผู้ป่วยนอกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและงานผู้ป่วยในโดยการนำต้นทุนทั้งหมดของแต่ละหน่วยบริการหารด้วยจำนวนครั้งที่ให้บริการผู้ป่วย
ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนรวมทางตรงของโรงพยาบาลเปือยน้อย ในปีงบประมาณ2553มีมูลค่า9,752,798.85บาทจำแนกเป็นต้นทุนค่าแรง5,242,286.00บาทต้นทุนค่าวัสดุ2,582,374.76บาทและต้นทุนค่าลงทุน1,928,138.09ต้นทุนทั้งหมดของหน่วยบริการผู้ป่วยเท่ากับ7,054,693.19บาทต้นทุนรวมทางตรงเท่ากับ2,620,662.69บาทและต้นทุนทางอ้อมเท่ากับ4,434,030.51บาทในส่วนของต้นทุนต่อหน่วยบริการงานผู้ป่วยนอกมีค่าเท่ากับ245.21บาทต่อครั้งโดยจำแนกเป็นต้นทุนบริการพื้นฐาน123.10บาทต้นทุนรักษาพยาบาล122.11บาทต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินมีค่าเท่ากับ433.42บาทต่อครั้งจำแนกเป็นต้นทุนบริการพื้นฐาน346.63บาทต้นทุนรักษาพยาบาล86.79บาทและต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยในมีค่าเท่ากับ1,611.21บาทต่อวันนอนจำแนกเป็นต้นทุนบริการพื้นฐาน1,479.09บาทต้นทุนรักษาพยาบาล132.12บาท ข้อเสนอแนะควรนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประกอบการวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องการกำหนดนโยบายประหยัดจัดตั้งคณะกรรมการบริหารยาและเวชภัณฑ์จัดทำบัญชียาที่ใช้และยาคงคลังกำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการสั่งยาจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านการเงินและการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น