ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในรูปแบบเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอสหัสขันธ์จังหวัดกาฬสินธ
คำสำคัญ:
ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, เครือข่ายบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในรูปแบบเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอสหัสขันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยการทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วยเบาหวาน1,067รายที่มารับบริการอย่างต่อเนื่องในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอสหัสขันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์ตั้งแต่1ต.ค.2552ถึง30ก.ย.2553ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ68.70)มีอายุ60ปีขึ้นไปมากที่สุด(ร้อยละ46.02)มีระยะเวลาที่ป่วยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง5-10ปี(ร้อยละ47.61)ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ25กก./ม2(ร้อยละ48.64)และมีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคร่วมมากที่สุด(ร้อยละ60.26)ได้รับการ
ตรวจHbA1c,lipidprofle,microalbuminuriaจอประสาทตาสุขภาพช่องปากและตรวจเท้าอย่างละเอียดประจำปีร้อยละ95.30,95.22,93.35,66.45,63.45และ61.76ตามลำดับมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้(>70mg/dlและ<130mg/dl)ร้อยละ46.95ค่าเฉลี่ย142.21mg/dlมีระดับHbA1c<7%ร้อยละ20.16ค่าเฉลี่ย9.02%มีระดับLDL<100mg/dlร้อยละ48.52มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าหรือเท่ากับ130/80mmHgร้อยละ43.77มีแผลที่เท้าร้อยละ1.03และได้รับการตัดนิ้วเท้าเท้าหรือขาร้อยละ0.09พบภาวะแทรกซ้อนdiabeticretinopathyและdiabeticnephropathyร้อยละ5.90และ12.93ผู้ป่วยอายุ40ปีขึ้นไปได้รับยาaspirinร้อยละ51.02ผู้ป่วยที่ตรวจพบmicroalbuminuriaได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มACEIหรือARBร้อยละ50.90
ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในรูปแบบเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอสหัสขันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการตรวจประเมินประจำปีในด้านการดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและในด้านการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนแต่ผลลัพธ์ในด้านประสิทธิภาพของการดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมนั้นยังไม่ดีเท่าที่ควรจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น