ก้อนทูมของต่อมน้ำลายพาโรติด:โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น พ.ศ.2549-2553
คำสำคัญ:
ก้อนทูมของต่อมน้ำลายพาโรติดบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการก้อนทูมของต่อมน้ำลายพาโรติดที่ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นระหว่างพ.ศ.2549-2553โดยวิธีการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและทะเบียนผลพยาธิวิทยาของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการก้อนทูมของต่อมน้ำลายพาโรติดที่ได้รับการผ่าตัดทุกรายตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ.2549ถึงเดือนธันวาคมพ.ศ.2553ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด112รายเป็นเพศชาย59ราย(ร้อยละ52.7)และเพศหญิง53ราย(ร้อยละ47.3)อายุระหว่าง2ถึง82ปี(เฉลี่ย48.6±14.2ปี)ก้อนทูมประเภทBenigntumorพบมากที่สุด84ราย(ร้อยละ75.0)รองลงมาพบก้อนทูมประเภทInflammation/Infection16ราย(ร้อยละ14.3)จากผลพยาธิวิทยาทั้งหมดพบชนิดPleomorphicadenomaมากที่สุด56ราย(ร้อยละ50.0)รองลงมาได้แก่Warthin’stumorและChronicsialadenitisชนิดละ14ราย(ร้อยละ12.5)ส่วนประเภทMalignanttumorพบ12ราย(ร้อยละ10.7)
อายุเฉลี่ย48.7ปี(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน13.1ปี)ชนิดที่พบมากที่สุดคือMucoepidermoidcarcinomaสรุป:ก้อนทูมของต่อมน้ำลายพาโรติดพบBenigntumorชนิดPleomorphicadenomaมากที่สุดและข้อสังเกตพบว่าก้อนทูมประเภทMalignanttumorพบที่อายุเฉลี่ยน้อยกว่าที่เคยมีจากรายงานที่ผ่านมา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น