ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย Panna nikhom Distric Health Office
  • วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ใช้วิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอ   พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 180 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ  (Systematic random sampling)  เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2555 โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญสามท่าน ที่ผ่าน         การทดสอบความเที่ยงและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

            ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับปานกลาง ( = 77.63, S.D. = 9.70, 95% CI = 76.20 - 79.06)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อาชีพ   (mean dif = -6.14 , 95% CI = -9.00 - -3.27, P-value < 0.0001) โรคประจำตัว (mean dif = 3.3 , 95% CI = 0.71 - 5.91, P-value = 0.013) และการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง (mean dif = 0.95 ,   95% CI = 0.31 - 1.58, P-value = 0.004) โดยที่ปัจจัยอาชีพ โรคประจำตัวและการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครได้ร้อยละ 17.59 ( = 0.1759) 

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุที่ได้รับ   เบี้ยยังชีพมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควรมีการดูแลช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุมีอาชีพหรืออาชีพเสริมที่เหมาะสมกับวัย     การดูแลช่วยเหลือในเรื่องโรคประจำตัวและมีการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13