การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ปี 2554
คำสำคัญ:
การป้องกัน, ขาดสารไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง(Cross - sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการของอำเภอน้ำโสม ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic random sampling) จำนวน 108 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2554 โดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbatch’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของประชากร ความรู้ การรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 25.34 ปี (S.D. = 6.76) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 61.10 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 38.90 รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 11,976.85 บาท (S.D. = 8,526.31) ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์เฉลี่ย 10.03 สัปดาห์ (S.D. = 4.59) จำนวนครั้งที่มาฝากครรภ์เฉลี่ย 5.83 (S.D. = 2.98) และเป็นการตั้งครรภ์ไม่เกิน 2 ครั้งร้อยละ 81.40 ทั้งนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 58.30 และ 56.48 และ 3 ใน 4 มีการรับรู้เกี่ยวกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้การรับรู้รายด้าน คือ ผลดีของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรค ความรุนแรงของโรค โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค คิดเป็นร้อยละ 91.67, 54.63 และ 51.85 ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการรับรู้ในระดับต่ำ คือ อุปสรรคของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรค และ ข้อมูลข่าวสารโรคขาดสารไอโอดีนคิดเป็นร้อยละ 74.07 และ 55.56 ผลการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงการปฏิบัติตนและความเชื่อเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน ของหญิงตั้งครรภ์อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ดังนั้นควรส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับสารไอโอดีนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยการให้ความรู้ผ่านสื่อหลัก เช่นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รวมถึงหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านให้มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ลดความเชื่อที่ผิด ๆ อันจะทำให้ลดการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น