การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร กุญแจทอง The office of DPC6, Khon Kaen province
  • ชนะพล ศรีฤาชา The faculty of Public Health, khon Kaen University.

คำสำคัญ:

อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน, การสนับสนุนจากองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross – Sectional Descriptive Research)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในจังหวัดขอนแก่น  จำนวนประชากร 784 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเพื่อสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง 1 - 31 มีนาคม 2555 แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน  ค่าต่ำสุด  ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 60 อายุเฉลี่ย 39.28 ปี (S.D. = 7.83) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 75.00 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 76 รายได้เฉลี่ย 23,427.87 บาท (S.D. = 7,977.69) ประสบการณ์ที่ปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคเฉลี่ย 14.09 ปี (ค่ามัธยฐาน = 15 ปี, ต่ำสุด 2 ปี, สูงสุด 38 ปี) การสนับสนุนจากองค์การในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.76 (S.D. = 0.73) ผลการปฏิบัติงาน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.91 (S.D. = 0.76)  การสนับสนุนจากองค์การด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านบุคลากร สามารถร่วมพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯได้ร้อยละ 64.90  ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่พบส่วนใหญ่คือด้านงบประมาณ ซึ่งควรมีการบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ด้านบุคลากรควรมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค และด้านวัสดุอุปกรณ์พบว่าควรมีการวางแผนการจัดการ ดูแล บำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13