การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อบต.หนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, การมีส่วนร่วม, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หนองผือ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโรคฟันผุในเด็กและพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสังเกต สนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และใช้สถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการพัฒนาระบบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value<0.05)
ผลการศึกษา เด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก อบต.หนองผือ จำนวน 174 คน อายุเฉลี่ย 4.8±1.2 ปี พบอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 79.3 ภายหลังการพัฒนาระบบพบว่า ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องสาเหตุของการเกิดฟันผุ ช่วงเวลาที่ควรเริ่มต้นแปรงฟันให้เด็ก และการปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมทำให้เกิดฟันผุร้อยละ 55.1 และ 50.6 ด้านทัศนคติพบว่า ร้อยละ 86.8 เห็นด้วยว่าเมื่อเด็กมีฟันน้ำนมผุจำเป็นต้องได้รับการรักษา และร้อยละ 85.6 เห็นด้วยว่าการฝึกให้เด็กแปรงฟันก่อนเข้านอนเป็นสิ่งจำเป็น การปฏิบัติพบว่า ร้อยละ 46.0 และ69.5 ของผู้ปกครองพาเด็กไปรับบริการทันตกรรมและตรวจความสะอาดช่องปากเด็กหลังแปรงฟัน สรุปว่าผู้ปกครองมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ครูเด็กเล็กจัดกิจกรรมเรียนรู้และฝึกทักษะการดูแลช่องปากให้กับเด็ก ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้การสนับสนุนงบประมาณและกำหนดนโยบายเด็กเล็กสุขภาพฟันดี และทันตบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนให้ข้อมูล และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การนำแนวคิดการมีส่วนร่วมมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมจากครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและทันตบุคลากร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น