การพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิสำหรับแรงงานนอกระบบ
คำสำคัญ:
การจัดบริการอาชีวอนามัย, แรงงานนอกระบบ หน่วยบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
ความเป็นมา: แรงงานนอกระบบมักประสบปัญหาการทำงานในสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งยังเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสม หน่วยบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะระดับปฐมภูมิ (PCUs) ดังนั้นควรมีรูปแบบการจัดบริการฯให้กับกลุ่มแรงงาน
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบและกลไกการจัดบริการสุขภาพด้านอาชีวอนามัยในระดับปฐมภูมิ วิธีดำเนินการ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552-เมษายน 2555 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดตัวแทนในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และใต้ รวม 20 แห่ง กิจกรรมสำคัญคือการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ สนับสนุนให้มีการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกและเชิงรับ จัดระบบการเฝ้าระวังโรค การนิเทศ ติดตาม เครื่องมือที่ใช้คือแบบรายงานโรคจากการทำงาน แบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น วัดผลการศึกษาจาก กลไกและรูปแบบการดำเนินงาน ผลการประเมินความเสี่ยง การคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงาน และการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่า PCUs 19 แห่งจาก 20 แห่ง มีรูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรับโดยวินิจฉัยและคัดกรองโรค จากข้อมูลการคัดกรองโรคมีผู้ป่วยโรคจากการทำงาน ระหว่าง ธันวาคม 2552- มีนาคม 2555 จำนวน 3,353 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 19.6 ต่อ 1,000 และในการจัดบริการเชิงรุก มี 15 PCUs มีการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานในกลุ่มแรงงานนอกระบบ จำนวน 2,821 คน พบว่าความเสี่ยงจากสุขภาพที่สำคัญคือ ท่าทางการทำงานและการยกของหนัก สัมผัสความร้อน สัมผัสฝุ่นและสารเคมี ด้านการจัดการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงพบว่า 14 แห่ง มีการจัดการและควบคุมความเสี่ยง และ PCUs จำนวน 14 แห่งได้รับงบประมาณการจัดการจากกองทุนสุขภาพตำบล สำหรับกลไกการดำเนินการได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายและการจัดการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ด้านวิชาการจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต และโรงพยาบาลระดับจังหวัด การมีส่วนร่วมได้รับการสนับสนุนจากจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: การพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ( PCUs) มีกิจกรรมสำคัญได้แก่ การจัดบริการเชิงรุกและเชิงรับ และกลไกหลักคือ ด้านวิชาการจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต และโรงพยาบาลระดับจังหวัด และความร่วมมือดำเนินงานจาก อปท. ดังนั้นการจัดบริการควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานดังกล่าวทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและต่อเนื่อง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น