ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
สมรรถนะหลัก, ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ, นักวิชาการสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยวิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร ประชากรที่ศึกษา คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร จำนวน 210 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยวิธีประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร ได้ขนาดตัวอย่าง 156 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช มีค่าเท่ากับ 0.91 ดำเนินการเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2556 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลของการศึกษา พบว่า ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ มีคะแนนเฉลี่ย 3.99 ± S.D.0.41 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.538, 95%CI = 0.38 – 0.63, p-value < 0.001) และพบว่า ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การสองปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อทำประโยชน์ให้กับองค์การ (Mean dif = 0.333, 95%CI = 0.19 – 0.47, p-value < 0.001) และปัจจัยความปรารถนาดีอย่างแรงกล้าที่จะธำรงรักษาการเป็นสมาชิกภาพขององค์การ (Mean dif = 0.160, 95%CI = 0.04 – 0.28, p-value < 0.001) สามารถร่วมพยากรณ์สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 32.8 (R2adj = 0.328)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น