ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซํ้าในทารกแรกเกิด ที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นงค์นุช สุขยานุดิษฐ Thatoom Hospital, Surin Province

คำสำคัญ:

ภาวะตัวเหลือง, ทารกแรกเกิด, การกลับมารักษาซ้ำ, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด กรณีที่มีระดับบิลิรูบินสูงมากจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันความพิการจากบิลิรูบินเข้าสู่สมอง การส่องไฟรักษาเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จึงได้ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อประมาณค่าความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการกลับมารักษาด้วยการส่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 14 วัน และมีภาวะตัวเหลืองที่คลอดในโรงพยาบาลท่าตูม โดยเทียบกับกราฟของแนวปฏิบัติของสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา
สำาหรับการส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 – 30 มิถุนายน 2555จำานวน 223 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกที่นักวิจัยพัฒนาขึ้น ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ในส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาด้วยการส่องไฟซ้ำวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุลอจีสติก รายงานค่าความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds ratio (ORadj) และ 95%CI ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 50.22 ส่วนใหญ่ได้รับการส่องไฟแบบหลอดเดียว (ร้อยละ 74.44) โดยมีระยะเวลา
ส่องไฟน้อยกว่า 3 วัน (ร้อยละ 88.79) และมีอายุที่ส่องไฟระหว่าง 48-72 ชั่วโมง (ร้อยละ 61.88) มีทารกแรกเกิดภาวะตัวเหลืองที่กลับมารักษาด้วยการส่องไฟซ้ำจำนวน 30 ราย คิดเป็นความชุกในการกลับมารักษาซ้ำร้อยละ 13.45(95%CI: 9.26-18.64) โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมารักษาด้วยการส่องไฟซ้ำคือ น้ำหนักตัวลดลงก่อนกลับบ้านมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7 ของนำ้าหนักตอนแรกเกิด (ORadj= 2.55, 95%CI: 1.15 – 5.65)และระดับบิลิรูบินก่อนเลิกการรักษาด้วยการส่องไฟและกลับบ้านมากกว่าหรือเท่ากับ 12.5 mg% (OR
adj= 2.35,95%CI: 1.06 – 5.22) ดังนั้นแพทย์ควรตระหนักถึงความสำาคัญของการติดตามเฝ้าระวังและให้การรักษาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่น้ำหนักตัวลดลงและมีระดับบิลิรูบินสูงก่อนกลับบ้านอย่างใกล้ชิด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13