สถานการณ์และผลการดำเนินงานวัณโรคเด็กในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เขตตรวจราชการที่ 10 และ 12 ปีงบประมาณ 2550-2552

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา สิมมาทัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
  • วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
  • ภัศรา อมรพิสิทธิกูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัณโรคเด็ก, สถานการณ์, โรงพยาบาลขนาดใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยวัณโรคเด็กรูปแบบการวินิจฉัย ระบบยาที่ใช้รักษา และผลการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคเด็กในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12ปีงบประมาณ 2550-2552 (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552) โดยค้นหาข้อมูลจากเอกสารการแพทย์ของผู้ป่วยวัณโรคอายุ 0-14 ปี จากเวชระเบียนของปีงบประมาณ 2550-2552 เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิก การวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบบยาและผลการรักษา โดยศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งหมด 9 แห่ง ที่สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยวัณโรคในเด็กผลการวิจัยพบว่า ในปีงบประมาณ 2550-2552 ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 9 แห่ง มีผู้ป่วยวัณโรคเด็กทั้งสิ้น 168 ราย ได้รับการวินิจฉัยโดยกุมารแพทย์ร้อยละ82.70 ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นวัณโรคปอดโดยเฉพาะเด็กเล็กไม่สามารถเก็บเสมหะตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อวัณโรคได้หรืออาจเก็บได้เสมหะที่มีคุณภาพไม่ดีนักเมื่อเทียบกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ ในจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเด็กทั้งสิ้น 168 ราย ได้รับการส่งเสมหะตรวจ AFB Smear 65 รายคิดเป็นร้อยละ 38.69 มีผลพบเชื้อ 9 รายคิดเป็นร้อยละ 13.85 ซึ่งตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 โดยใช้มาตรฐานในการวินิจฉัยตามแนวปฏิบัติของประเทศไทย การรักษาใช้มาตรฐานที่เหมาะสมคือ Category 1 และ Category 3 ถึงร้อยละ95.48 ผลการรักษาสำเร็จ ร้อยละ 71.79 อัตราตายร้อยละ 1.28 แต่ขาดยาและโอนออกโดยไม่ทราบผลการรักษาสูงถึงร้อยละ 14.10 จากข้อมูลที่ได้รับในรายงานผู้ป่วยเด็กของผู้รับผิดชอบงานวัณโรคในพื้นที่รับผิดชอบ
ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี 2550-2552 มีการขึ้นทะเบียนและรายงานผู้ป่วยวัณโรคเด็กน้อยมาก โดยได้รับรายงานผู้ป่วยวัณโรคเด็ก จากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.4 ข้อเสนอแนะจาการวิจัย ควรให้มีนโยบายเร่งรัดการดำาเนินงานตามแผนงานควบคุมโรคตามยุทธศาสตร์การหยุดยั้งวัณโรค (The Stop TB Strategy) ในกลุ่มวัณโรคเด็กโดยเฉพาะ ให้มีการปรับปรุงคุณภาพการวินิจฉัย การบริการ การรักษา รวมทั้งระบบรายงานให้ได้มาตรฐานสร้างระบบเครือข่ายการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงระบบการรายงานข้อมูลเพื่อนำาไปวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการดำาเนินงานควบคุมวัณโรคให้มีประสิทธิภาพ ต่อไปในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13