สอบสวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส เสียชีวิต ต.หนองผือ อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด 23 พฤษภาคม 2555

ผู้แต่ง

  • ิกิตติพิชญ์ จันที The offce of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • หนูทัศน์ ผาวิรัตน์ Maung-Sruang Hospital, Roi-Et
  • สุภาพร มิตรภานนท์ Roi-Et, Provincial Public Health Offce

คำสำคัญ:

โรคเลปโตสไปโรซีส, เสียชีวิต, แหล่งน้ำ, จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

ทีมเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็ว Special Rapid Response Team (SRRT) ระดับเขต จังหวัดร้อยเอ็ด และอำาเภอ ร่วมกันสอบสวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีสเสียชีวิตที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ต.หนองผือ อ.เมืองสรวง เพื่อยืนยันการวินิจฉัยหาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สาเหตุการเสียชีวิต และกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูลทะเบียนประวัติผู้ป่วยของสถานพยาบาล ร่วมกับการสอบถามแพทย์ ภรรยา และญาติที่ดูแลก่อนเสียชีวิต ถึงการเจ็บป่วย การรักษา และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการ
ติดเชื้อก่อนป่วย พร้อมกับศึกษาสภาพแวดล้อม แหล่งน้ำที่สงสัย เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองผู้ป่วยก่อนเสียชีวิต ส่งตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อสำคัญในพื้นที่เฝ้าระวังผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมกับผู้เสียชีวิต จับหนูบริเวณแหล่งน้ำที่สงสัยและเก็บตัวอย่างน้ำเหลืองวัวที่ผู้ป่วยเลี้ยง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่นผลการสอบสวน พบว่าผู้เสียชีวิต เพศชาย สมรส อายุ 22 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป เริ่มป่วยด้วยอาการ มีไข้ต่ำๆ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ได้ซื้อยามารักษาเอง 2 วันต่อมา จึงพบแพทย์แผนกผู้ป่วยนอก รพ.เมืองสรวงด้วยอาการไข้สูง เจ็บหน้าอกมาก ปวดเมื่อยตามร่างกายและกล้ามเนื้อน่อง ผลตรวจร่างกาย ทดสอบทูนิเกต์ เป็นลบ และมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่าค่าปกติ ผลการตรวจคัดกรองโรค Leptospirosis ให้ผลเป็นลบ แพทย์วินิจฉัยโรคเบื้องต้น Acute febrile illness สงสัยไข้เด็งกี่ นัดติดตาม 3 วัน ขณะอยู่บ้าน ไอมีเสมหะปนเลือด ภรรยาจึงนำส่ง โรงพยาบาลแห่งเดิมในเช้าวันที่23พฤษภาคมผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติคือจำนวนเกล็ดเลือดลดลงจากเดิมไตทำางานผิดปกติค่าBUNและCreatinineสูงกว่าปกติแพทย์รับเป็นผู้ป่วยในวินิจฉัยโรคปอดบวมจากผลตรวจเอกซเรย์ทรวงอกพบ Infltrationbasal bothlungได้รับการรักษาด้วยยาCeftriaxone(Cef-3)RulidGlycerylGuaiacolate(GG)และยาParacetamolระหว่างรักษาผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่นจึงถูกส่งต่อไปที่โรงพยาบาลจังหวัดร้อยเอ็ด
แพทย์วินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซีส และมี Acute kidney injury และผู้ป่วยมีภาวะ Creatinine rising ที่โรงพยาบาลจังหวัด พบว่าตับทำงานผิดปกติ ต่อมาผู้ป่วยมีอาการทรุดลงตามลำดับ และเสียชีวิตในคืนวันเดียวกัน แพทย์สรุปสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีส พร้อมกับมีภาวะแทรกซ้อน จากระบบหายใจล้มเหลว และโลหิตมีภาวะเป็นกรดการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซีส โรคสครับทัยฟัส โรคเมลิออยโดซีส ไวรัสตับอักเสบ ชนิดซี/บี และไวรัส HIV จากภูมิคุ้มกัน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ แต่พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี จากการสอบถามสมาชิกในครอบครัว ถึงประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรค พบว่าผู้เสียชีวิตเป็นคนนอกพื้นที่ เข้ามาอยู่อาศัยไม่นานน่าจะสัมผัสรับเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสจากแหล่งน้ำในโอ่งที่ใช้อุปโภคบริโภคในกิจวัตรประจำวัน ที่กระท่อมพักในทุ่งนา ซึ่งใช้นอนเฝ้าวัวทุกวัน โดยบริเวณโอ่งน้ำ มีรูหนู และร่องรอยทางเดินของหนูเป็นจำานวนมาก และได้เก็บตัว
อย่างน้ำจากโอ่งน้ำ 3 แห่ง ตรวจพบเชื้อ Leptospira spp. ทุกตัวอย่าง จึงคาดว่าเป็นแหล่งโรคสำคัญในการติดเชื้อและป่วยประกอบกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีอยู่แล้วจึงทำให้มีความรุนแรงของโรคมากขึ้นและเสียชีวิตในที่สุดมาตรการควบคุมโรคทีมคณะกรรมการประสานงานอำเภอเมืองสรวงร่วมกับทีมปศุสัตว์เทศบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขและชาวบ้านพื้นที่ที่เกิดเหตุจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์เน้นสามด้านเพื่อลดจำนวนหนูสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคและควบคุมสัตว์เลี้ยงวัวควายไม่ให้ลงในแหล่งน้ำสาธารณะกิจกรรมเพื่อตัดวงจรการแพร่รับเชื้อสู่คน โดยงดใช้หรือหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำจากโอ่งนำ้า ภาชนะบรรจุน้ำที่ใช้อุปโภค บริโภคตามกระท่อมทุ่งนาทั้งพื้นที่เกิดเหตุและพื้นที่ข้างเคียง แหล่งน้ำที่สงสัย ได้ใช้คลอรีนผสมให้มีความเข้มข้น 5 ppm.ก่อนนำไปใช้และไม่ควรนำาน้ำมาดื่มโดยที่ไม่ผ่านการต้มให้สุกก่อน ไม่สัมผัสแหล่งน้ำโดยตรงถ้ามีบาดแผลตามร่างกาย และประชาสัมพันธ์ สื่อสารการเกิดโรคขึ้นในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังผู้มีอาการสงสัย และร่วมมือในการป้องกันโรคในพื้นที่ข้อเสนอแนะจากการสอบสวนครั้งนี้คือแหล่งนำ้าที่บรรจุอยู่ในภาชนะประเภทต่างๆตามกระท่อมท้องนาท้องไร่หรือบ้านร้างถึงจะมีฝาปิดมิดชิดดีแต่ประชาชนควรตระหนักและระมัดระวังไม่นำมาใช้อุปโภคหรือบริโภคโดยตรง เพราะอาจมีเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสหรือเชื้อก่อโรคอื่นๆ ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งอาจปนเปื้อนจากปัสสาวะหนูได้โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหนูอาศัยอยู่ชุกชุมโดยสังเกตจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบว่ามีรูหนูร่องรอยทางเดินรังหนูหรือมูลหนู
ซึ่งเป็นสัตว์รังโรคที่สำคัญ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13