ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เกิดจาก ระบบบริการสุขภาพของรัฐ โรงพยาบาลอำเภอในเขตโซนใต้ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐกานต์ ศรีเรือง Banphai Hospital, Khon Kaen
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ Faculty of Publice Health, Khon Kaen University
  • กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ The Office of Disease Prevention and Control 6th, khon Kaen province

คำสำคัญ:

วัณโรค, ความล่าช้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เกิดจากระบบบริการสุขภาพของรัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และคัดลอกข้อมูลผู้ป่วยซึ่งขึ้นทะเบียนรักษา ณ คลินิกวัณโรค จำนวน 6 แห่ง ในเขตโรงพยาบาลอำเภอโซนใต้ จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว โดยใช้สถิติ Simple logistic regression และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regressions) แสดงผลด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95%CI)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 335 ราย มีความชุกของความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการสุขภาพของรัฐมากกว่า 7 วัน ร้อยละ 23.6 (95%CI = 19.0 - 28.0) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากระบบบริการสุขภาพของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุของแพทย์คนแรกที่พบผู้ป่วยด้วยอาการที่เข้าข่าย   วัณโรคที่ ≤28 ปี (ORadj= 5.06, 95%CI = 1.12-2.78) จำนวนครั้งในการมาพบแพทย์ ≥2 ครั้งก่อนที่จะถูกวินิจฉัย (ORadj= 6.90, 95%CI = 2.79-12.25) ผลเอ็กซเรย์ปอดไม่พบรอยแผลโพรงในปอดก่อนวินิจฉัย (ORadj= 3.65, 95%CI = 1.86-7.14) และไม่ได้รับการคัดกรองจากบุคลากรทางการแพทย์ (ORadj = 13.85, 95%CI = 2.69–11.34)จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ควรมีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของรัฐ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และพัฒนาระบบการคัดกรองอาการวัณโรคในโรงพยาบาล เพื่อลดความล่าช้าจากการวินิจฉัยและลดการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13